หน้าแรกTrade insightอุตสาหกรรมอื่นๆ > ตลาดเฟอร์นิเจอร์ E-commerce ในสหรัฐอเมริกา

ตลาดเฟอร์นิเจอร์ E-commerce ในสหรัฐอเมริกา

การคาดการณ์ยอดจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ภาพรวม ในสหรัฐฯ ปี 2566 จากบริษัท Statista น่าจะมีมูลค่าประมาณ 244,000 ล้านเหรียญสหรัฐ น่าจะเติบโตเฉลี่ย 3.91% ในช่วงระหว่างปี 2566-2571 โดยปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวดังกล่าว คือ การเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ความต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและความนิยมในการใช้ชีวิตที่บ้านมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

กลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์ยอดนิยม 3 อันดับแรกในตลาดสหรัฐฯ ปี 2566 อ้างอิงตามข้อมูลการสำรวจของบริษัท Statista Market Insights มีดังนี้

1) เฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องนั่งเล่น มีมูลค่า 68,070 เหรียญสหรัฐ ขยายตัว 3.7%

2) เฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องนอน มูลค่า 43,160 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 3.1%

3) เฟอร์นิเจอร์สำหรับห้องรับประทานอาหารและห้องครัว มูลค่า 32,320 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4.1%

ช่องทางการจำหน่ายสินค้าเฟอร์นิเจอร์ในตลาดสหรัฐฯ แบ่งออกเป็น 2 ช่องทางหลัก คือ

  1. ออนไลน์ (62%) เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมมากในปัจจุบัน โดยการจำหน่ายแบบ E-Commerce นับว่าช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของตลาดเฟอร์นิเจอร์อย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา โดยบริษัท E-Commerce ที่เป็นที่รู้จักในตลาดสหรัฐฯ เช่น Amazon, Wayfair และ Home Depot เป็นต้น

2. ทางออฟไลน์ (38%) ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Big Box Store) อาทิ Target Walmart เป็นที่นิยมมากที่สุด รองลงมา คือ ร้านเฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังและร้านเฟอร์นิเจอร์ที่รวมสินค้าหลากหลายแบรนด์ไว้ในที่เดียว ตามลำดับ

 

 

 

 

แนวโน้มของผู้บริโภคสหรัฐฯ ต่อการซื้อสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน

  1. ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่สั่งทำเฉพาะหรือปรับเปลี่ยนตามความชอบได้ (customized) เพิ่มมากขึ้น
  2. ผู้บริโภคมองหาสินค้าที่สามารถประกอบได้เอง
  3. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับไลฟ์สไตล์ เน้นความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. ผู้บริโภคต้องการสินค้าที่จัดส่งรวดเร็ว และสามารถติดตามแหล่งที่มาของสินค้าได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง
  5. แนวโน้มของแบรนด์ที่เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง (Direct to Consumer: D2C) มีแนวโน้มการเติบโตอย่างมากในอนาคต ข้อมูลจากนิตยสาร Furniture Today ระบุว่าแนวโน้มการจำหน่ายทางออนไลน์แบบ D2C ปี 2567 น่าจะมีมูลค่าถึง 51,000 เหรียญสหรัฐ โดยผู้บริโภคมีความเชื่อว่าการลดบทบาทของพ่อค้าคนกลางจะสามารถลดต้นทุนสินค้าลง

ข้อมูลการส่งออกสินค้าในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของใช้บนโต๊ะอาหารและของตกแต่งบ้านจากไทยมายังสหรัฐฯ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. สินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน  มูลค่า 281.05 ล้านหรียญสหรัฐฯ   ลดลง 33.31%
  2. สินค้าของขวัญและของตกแต่งบ้าน มูลค่า  76 ล้านหรียญสหรัฐฯ  เพิ่มขึ้น 61.87%
  3. สินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัว มูลค่า   10 ล้านหรียญสหรัฐฯ   ลดลง 51.99%

 

โอกาสของสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านของไทยในตลาดสหรัฐฯ

  1. นักออกแบบสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไทยมีทักษะในด้านการออกแบบสินค้าที่ดี ดังนั้น การเจาะตลาดกลุ่มดีไซน์ กลุ่มโรงแรม Hospitality Recreation น่าจะทำสินค้าไทยมีโอกาสมากขึ้น โดยงานแสดงสินค้าที่น่าสนใจในนครนิวยอร์ก ได้แก่

NYNOW (nynow.com)                         13-15 ส.ค. 2566

BDNY (bdny.com)                              12-13 พ.ย. 2566

ICFF (icff.com)                                   19-24 พ.ค. 2567

  1. โรงงานผลิตสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านในไทยเป็นโรงงานขนาดกลางที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน สะดวกต่อการ Sourcing สำหรับรายกลางและขนาดย่อม เช่น สินค้าเซรามิค สินค้าตกแต่งบ้านงานไม้และสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นดีไซน์ และในขณะเดียวกันก็มีโรงงานขนาดใหญ่ เช่น สินค้าเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน สินค้าเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้งซึ่งมีความชำนาญและมีความสามารถในการบริหารจัดการ Supply Chain ให้กับเฟอร์นิเจอร์ Department Store ในประเทศสหรัฐฯ ได้
  2. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ไทยส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่มีการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี (Green Environment) และผู้ผลิตบางรายมีการทำในเรื่อง Green Product และ Sustainability แล้ว ควรนำมาใช้ผนวกในการสร้างเรื่องราวให้กับสินค้า อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตลาดในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะกลุ่ม High Purchasing กลุ่ม investor และตกแต่งอสังหาริมทรัพย์
  3. อนึ่ง ในเชิงการผลิต ต้นทุนการผลิตสินค้าของไทยค่อนข้างเสียเปรียบเทียบคู่แข่ง จากจีน เวียดนามและเม็กซิโก นอกจากนี้ นโยบายการผลิตแบบ nearshoring และข้อตกลงพิเศษทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเม็กซิโกยิ่งทำให้สินค้าที่ผลิตจากเม็กซิโกมีความได้เปรียบมาก
  4. 5. ประเทศไทยยังไม่มีจุดกระจายสินค้าของตนในสหรัฐฯ จึงทำให้ต้องพึ่งพาผู้นำเข้า อนึ่ง นโยบายการตลาดเชิงรุกผ่านทางออน์ไลน์และการใช้บริการของบริษัทระบบโลจิกติกส์ (Fulfilment Facility) ที่มีบริการครอบคลุมเข้ามาช่วยในเรื่องการจัดเก็บและกระจายสินค้า น่าจะทำให้สินค้าไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขันแบบ E-Commerce ในตลาดสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้น ซึ่งการตลาดแบบออนลน์จะช่วยสร้างการจดจำแบรนด์ในระยะยาวต่อไป
  5. ผู้ผลิตไทยควรอาศัยประโยชน์ของสื่อ Social ในการสร้างกระแสความนิยมมหภาพและทำให้สินค้าไทยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก มีโอกาสประชุมหารือกับบริษัท Wayfair ซึ่งเป็นบริษัท E-Commerce รายใหญ่ในสหรัฐฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมือง Boston มลรัฐ Massachusetts และมีจำหน่ายสินค้าทั้งในสหรัฐฯ และต่างประเทศ เช่น แคนาดา เยอรมัน ไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ซึ่งในปี 2565 บริษัทมีมูลค่าการจำหน่ายสินค้ารวม 12,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

บริษัท Wayfair ดำเนินกิจการ E-commerce โดยเป็นเจ้าของเว็บไซต์ค้าปลีกที่สำคัญ 5 แบรนด์ ได้แก่

Wayfair LLC               ร้านค้าออนไลน์ในบ้านสำหรับเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งนอกบ้านและอื่นๆ

Joss & Main               ร้านค้าออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ออกแบบตกแต่งภายใน

AllModern                 ร้านค้าออนไลน์สำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งเน้นการออกแบบในธีมที่เรียบง่าย

Birch Lane                 ร้านค้าออนไลน์สำหรับเฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งธีมดั้งเดิมและคลาสสิก

Perigold                    ร้านพรีเมี่ยมสำหรับตกแต่งบ้านระดับสูง

บริษัท Wayfair ไม่มีนโยบายซื้อสินค้าและไม่มีการเก็บสต๊อกสินค้าในคงคลัง แต่จะทำธุรกิจกับผู้ประกอบการ (supplier) ที่มีสินค้าในคงคลังในสหรัฐฯ (US inventory) และมีประสบการณ์ด้านธุรกิจ E-Commerce ทั้งนี้ เมื่อลูกค้าของบริษัท Wayfair ได้สั่งสินค้าผ่านทางออนไลน์ ระบบของบริษัท Wayfair จะเป็นผู้แจ้งให้ผู้ประกอบการ (supplier) จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าของบริษัทโดยตรง หรือ เรียกว่าการ “drop ship” ซึ่งบริษัท Wayfair จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งจากโกดังสินค้า (US warehouse) ไปยังลูกค้าปลายทาง

โดยกลุ่มสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งที่บริษัทให้ความสนใจ คือ กลุ่มที่พักอาศัย กลุ่มสำนักงาน กลุ่มการศึกษา กลุ่มของตกแต่งที่มีความโดดเด่น กลุ่มธุรกิจบริการร้านอาหารและกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ที่มีความโดดเด่น  อย่างไรก็ดี บริษัท Wayfair ค่อนข้างมีความสนใจสินค้าเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านจากไทย เพราะ เป็นสินค้าที่มีการออกแบบสวยงานและมีคุณภาพ ข้อมูลการสมัครเป็นผู้ขายในเวปไซต์ Wayfair สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ https://sell.wayfair.com/

สำนักงานฯ มีความเห็นว่าการใช้เครือข่ายของบริษัทยักษ์ใหญ่ในธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่มีเครือข่ายออน์ไลน์ที่เข้มแข็ง นอกจากจะช่วยกระจายสินค้าไทยสู่สากลและกระตุ้นการส่งออกมายังตลาดสหรัฐฯ แล้ว ยังจะสามารถช่วยต่อยอดสินค้าแบรนด์ไทยในสหรัฐฯ ให้มีศักยภาพในการแข่งขันและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในมุมกว้างอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login