- ข้อมูลพื้นฐาน
ในปัจจุบันสินค้าออร์แกนิก ผัก ผลไม้ และอาหารเสริมเพื่อสุขภาพได้รับความนิยมสูงขึ้น ผู้คนเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิกด้วยเหตุผลหลายประการ บางคนเลือกซื้อสินค้าอาหารออร์แกนิกเพราะใส่ใจในสุขภาพ บางคนซื้อสินค้าออร์แกนิกเพราะความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าการทานอาหารออร์แกนิกเป็นวิธีหนึ่งในการลดปริมาณสารเคมี เนื่องจากในปัจจุบันมีสารเคมีตกค้างและสารเติมแต่งในอาหารจำนวนมาก ทำให้ผู้คนเริ่มมาให้ความสนใจและเลือกที่จะบริโภคสินค้าออร์แกนิกมากขึ้น
อาหารสามารถถูกเรียกว่า “ออร์แกนิก” ได้ก็ต่อเมื่อผลิตตามมาตรฐานออร์แกนิกตลอดขั้นตอนการผลิต การจัดการ การแปรรูป และการตลาด และได้รับการรับรองโดยหน่วยรับรองหรือหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ ต้นทาง สำหรับการปลูกจะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ย กระบวนการทำฟาร์มเน้นที่การปลูกพืชหมุนเวียน มูลสัตว์ และการควบคุมศัตรูพืชทางชีวภาพ รวมถึงการเลี้ยงสัตว์โดยหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนการเจริญเติบโต และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์อื่นๆ และต้องไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรมและการแผ่รังสีไอออไนซ์
- การทำฟาร์มออร์แกนิกในฮ่องกง
เริ่มตั้งแต่ ปี 2531 มูลนิธิ Produce Green ฮ่องกง เริ่มการทำฟาร์มโดยใช้แนวทางการเพาะปลูกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเลี้ยงพืชผลและส่งเสริมพืชสีเขียว ภายหลังของปี 2542 กลุ่มเกษตรกรได้ก่อตั้ง Hong Kong Organic Farming Association (HOFA) จัดสรรฟาร์มออร์แกนิกขนาดพื้นที่เล็ก เพียงประมาณ 10 แห่ง ซึ่งผลผลิตเกษตรอินทรีย์ได้ความต้องการของผู้บริโภคเพียงไม่กี่คนเท่านั้น
การทำเกษตรกรรมในท้องถิ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในฮ่องกง แต่รัฐบาลได้ริเริ่มส่งเสริมการทำฟาร์มออร์แกนิกที่สามารถเปิดตลาดได้เฉพาะกลุ่มสินค้าพรีเมียม นอกจากนี้ ในปี 2543 Agriculture Fisheries and Conservation Department (AFCD) ได้เปิดตัว “โครงการฟาร์มออร์แกนิก” เพื่อช่วยให้เกษตรกรทั่วไปเปลี่ยนมาทำเกษตรอินทรีย์และให้คำแนะนำทางเทคนิคสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำฟาร์ม โดยหน่วยงาน Vegetable Marketing Organization (VMO) และหน่วยงาน Federation of Vegetable Marketing Co-operative Societies Ltd. (FVMCS) ร่วมให้การสนับสนุนด้านเทคนิคและการตลาดแก่เกษตรกร จนถึงขณะนี้มีการสนับสนุนทำฟาร์มออร์แกนิก เข้าร่วมจาก 15 รายเป็น 359 ราย (ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566) และส่งไปจำหน่ายผ่านซุเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ตลาดสด โดยสินค้าที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพืช ผักสวนครัว และโครงการส่งเสริมเกษตรชนิดใหม่ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ มะระขาว แตงกวา พริกหวาน สตรอเบอร์รี่ แตงโม และร็อกเมลอน นอกจากสินค้าเกษตรยังแบ่งเป็นอาหารเกษตรแปรรูป ได้แก่ อาหารสำหรับเด็กอ่อน นม ไข่ ขนมปัง ซีเรียล อาหารเนื้อสัตว์ อาหารทะเลแช่แข็ง และขนมหวาน ฯลฯ
ฟาร์มออร์แกนิกในฮ่องกงได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน Sustainable Ecological Ethical Development Foundation (SEED) ในอดีต SEED มีฟาร์มออร์แกนิกไม่ถึง 20 แห่งในฮ่องกง จนถึงปี 2552 ได้ขยายเพิ่มขึ้นเป็น 270 ฟาร์ม แม้ว่าภาคเกษตรกรรมของฮ่องกงจะมีจำนวนไม่มาก แต่ฟาร์มออร์แกนิกก็มีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความต้องการอาหารออร์แกนิกเพิ่มมากขึ้น รายชื่อฟาร์มที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลฮ่องกง ข้อมูลตามลิงค์ https://hkorc-cert.org/en/list-of-certified-operations/
- ภาพรวมการบริโภค
ตลาดผู้บริโภคสินค้าออร์แกนิกในฮ่องกงมีขนาดเล็ก เนื่องจากจำนวนประชากร 7.5 ล้านคน โดยความ
ต้องการผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในฮ่องกงคิดเป็น 0.15% ของความต้องการจากทั่วโลก และประมาณ 1.4% ของตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในฮ่องกงของปี 2567 มีมูลค่า 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2564-2567 ขยายตัว 9.0% โดยความต้องการผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะเติบโตในสินค้าประเภทใหม่ และกลุ่มจำนวนประชากรที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
ตลาดการบริโภคสินค้าออร์แกนิกในฮ่องกง
Compound Annual Growth Rate (CAGR) หมายถึง อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น คืออัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น การบริโภค CAGR ตั้งแต่ปี 2561- 2564 จะเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วงสามปีนี้
The Global Organic Trade คาดว่าปี 2568 การบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพมีมูลค่า 2,409.6 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ และการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิก มูลค่า 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นอาหารออร์แกนิก มูลค่า 130.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเครื่องดื่มออร์แกนิก มูลค่า 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2565-2568 การบริโภคอาหารออร์แกนิกขยายตัว 8.7% สินค้าเพื่อสุขภาพขยายตัว 4.4% และเครื่องดื่มออร์แกนิกขยายตัว 3.7%
- แนวโน้มตลาด
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคชาวฮ่องกงหันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
นิยมเลือกซื้ออาหารปลอดสารเคมี ตระหนักถึงการเจ็บป่วย ประกอบกับแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในฮ่องกง โดยคาดว่าสัดส่วนของประชากรที่มีอายุเกิน 65 ปี ขยายตัว 22.6 % ภายในปี 2568 ทำให้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ผลิตสินค้าออร์แกนิกมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมอาหารในรูปแบบใหม่ๆ
ในปี 2564 เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเริ่มเข้าสู่ตลาดออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตามยอดขายยังคงมีจำกัด เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารสำเร็จรูปทั่วไป โดยเฉพาะการจำหน่ายสินค้าบนตลาดอีคอมเมิร์ซ เช่น HKTV Mall
ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการจำหน่ายสินค้าออร์แกนิกที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพมีจำนวนมากเพิ่มขึ้นใน Retail outlet อาทิ แบรนด์ Watson หรือ Manning อาทิ วิตามิน หรือ อาหารเสริม (Vitamins & Supplements) และได้เพิ่มช่องทางการค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ โดยผู้บริโภคมีข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อ
- สินค้าออร์แกนิกที่ได้รับความนิยมในตลาดฮ่องกง
ข้อมูล Statista ในสินค้าออร์แกนิกจำหน่ายและนิยมของผู้บริโภคในฮ่องกง ได้แก่ ผักและผลไม้ สัดส่วน 80% ไข่และเนื้อไก่ สัดส่วน 44% นมสัดส่วน 42% เนื้อสัตว์ สัดส่วน 37% ซีเรียล สัดส่วน 29% ขนมขบเคี้ยวรวมถึงชอกโกเล็ต มันฝรั่ง ถั่ว สัดส่วน 18% ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กทารกสัดส่วน 17% ซ๊อสต่างๆ สัดส่วน 14% และเครื่องดื่มและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สัดส่วน 15%
Top Organic Products Categories in Hong Kong
แหล่งที่มา : Statista in Cooperation with Rakuten Insight ,(https://apps.fas.usda.gov/newgainapi/api/Report/)
5.1 สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ข้าวออร์แกนิก ไข่ออร์แกนิก อาหารและเครื่องดื่มปลอดสารเคมี ผักและผลไม้ปลอดสารเคมี
ราคาจำหน่ายข้าวและข้าวออร์แกนิกไทยในฮ่องกง
แหล่งที่มา: เว็บไซต์ของ ParkNShop
ราคาจำหน่ายผักสดและผักสดออร์แกนิกในฮ่องกง
แหล่งที่มา: ราคา/ปริมาณ สำรวจจากซุเปอร์มาเก็ตในฮ่องกง
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.52 บาท
ราคาจำหน่ายผักสดและผักสดออร์แกนิกในฮ่องกง
แหล่งที่มา: ราคา/ปริมาณ สำรวจจากซุเปอร์มาเก็ตในฮ่องกง
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.52 บาท
ราคาจำหน่ายสินค้าอาหารและอาหารออร์แกนิกในฮ่องกง
แหล่งที่มา: ราคา/ปริมาณ สำรวจจากซุเปอร์มาเก็ตในฮ่องกง
อัตราแลกเปลี่ยน : 1 ดอลลาร์ฮ่องกง เท่ากับ 4.52 บาท
5.2 ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเพื่อความงาม ได้แก่ อาหารเสริมและวิตามิน สมุนไพร โภชนาการการกีฬา ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพจากธรรมชาติ อาหารเพื่อเสริมความงามที่ปราศจากเคมี ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม สปาและน้ำมันหอมระเหย ผลิตภัณฑ์สำหรับทารกและสตรีมีครรภ์ ฯลฯ ที่ได้รับการรับรองออร์แกนิก
5.3 สินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติ สินค้าเครื่องสำอางในฮ่องกงส่วนใหญ่เป็นเครื่องสำอางจากธรรมชาติที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยเครื่องสำอางจากธรรมชาติจะมีส่วนผสมธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสารเคมีสังเคราะห์ในปริมาณต่ำหรือน้อยที่สุด โดยรายงาน Statista Market Insights ปี 2567 สินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติในฮ่องกง มีมูลค่า 35.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.2% ทั้งนี้ ตลาดเครื่องสำอางจากธรรมชาติจากทั่วโลกขนาดใหญ่ 5 อันดับประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย ตามลำดับ
สินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติที่จำหน่ายออนไลน์และปกติทั่วไปในฮ่องกง
อ้างอิง: Statista Market Insights ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561-2570
สำหรับช่องทางการจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ผู้บริโภคชาวฮ่องกงนิยมสั่งซื้อสินค้าตามร้านค้าปกติทั่วไป เนื่องจากผู้ซื้อสามารถจับต้องสินค้า เนื้อครีม กลิ่น และสีที่แท้จริง ในขณะเดียวกัน ช่องทางการจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางและเครื่องประทินผิวในฮ่องกงมีจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพและราคาที่ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะในเคาเตอร์ Brand Shop ที่ขายสินค้าราคาระดับกลางถึงสูง ในขณะที่ร้านค้าปลีก ได้แก่ Sasa, Lung Fung Mall , Sephora HK, Colourmix, Watson, Manning ฯลฯ ที่มีราคาระดับปานกลาง
ราคาจำหน่ายเครื่องสำอางทั่วไปและเครื่องสำอางออร์แกนิกในฮ่องกง
ราคาจำหน่ายเครื่องสำอางทั่วไปและเครื่องสำอางออร์แกนิกในฮ่องกง
- การรับรองมาตรฐานสินค้าออร์แกนิก
สินค้าออร์แกนิกต้องมีใบรับรองมาตรฐานหรือฉลากระบุบนสินค้า “Organic” โดยเครื่องหมายและตรา Organic ต่างๆ ในฮ่องกง ได้แก่ USDA Organic ของ สหรัฐอเมริกา, IFOAM ฮ่องกง, JAS ญี่ปุ่น, Agriculture Biologique ฝรั่งเศส และ Canada Organic Biologique Canada จากแคนาดา
ตัวอย่างใบรับรองออร์แกนิกในฮ่องกง
6.1 ใบรับรอง Organic Certification
ผลิตภัณฑ์ “ออร์แกนิก”จะต้อง ได้รับการรับรองจากหน่วยรับรองหรือหน่วยงานรับรองของประเทศต้นทาง เพื่อตรวจสอบโดยหน่วยรับรองที่ยอมรับ หรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามมาตรฐานอินทรีย์ โดยผู้ประกอบการเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตการรับรองออร์แกนิก และได้รับอนุญาตให้มีผลิตภัณฑ์ของตนติดป้ายกำกับว่าเป็นออร์แกนิกและ/หรือมีโลโก้ออร์แกนิก จึงจะถือว่าสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะในมาตรฐานอินทรีย์ได้ ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่ผ่านการรับรองสินค้า ที่มีฉลากอินทรีย์ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านี้ประกอบด้วยสารอินทรีย์อย่างน้อย 95% ของวัตถุดิบ
6.2 ฉลาก Organic Labels
การติดฉลากออร์แกนิกตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ช่วยให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกโดยคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่หลากหลายในตลาด ผู้บริโภคชาวฮ่องกงมีความรู้และนิยมอ่านฉลากออร์แกนิกก่อนตัดสินใจซื้อ อาหารออร์แกนิกแปรรูปมักประกอบด้วยวัตถุดิบออร์แกนิกเท่านั้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจมีป้ายกำกับ เช่น“ทำด้วย [ส่วนผสม] ออร์แกนิก” หรือ “[เปอร์เซ็นต์] โดยธรรมชาติ”.
ป้ายกำกับ Organic food ที่ผ่านการรับรองควรมีฉลากอ่านง่ายว่า “Organic”หรือมีโลโก้ “Organic แต่การรับรองผลิตภัณฑ์อาหารที่มีป้ายกำกับว่า “Natural” “No Chemical” หรือ “การเลี้ยงแบบธรรมชาติ ” ไม่ถือว่าเป็นสินค้า Organic
- ช่องทางการจำหน่าย
ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิกจากช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายในฮ่องกงทั้งในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ อาทิ
ผลการศึกษาตลาดออร์แกนิกในฮ่องกงของ Prof. Wong W.C. Jonathan MH มหาวิทยาลัย Hong Kong Baptist University พบว่าผู้บริโภคฮ่องกงนิยมเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิกผ่านช่องทาง Supermarket รองลงมาเป็นร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพ และตลาดสด ตามลำดับ
ภาพตัวอย่างร้านค้าเพื่อสุขภาพในฮ่องกง
ภาพตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ Central Farmer’s Market
- อุปสรรคสินค้าออร์แกนิกไทยในตลาดฮ่องกง
การแข่งขันสินค้าออร์แกนิกในฮ่องกงค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่ฮ่องกงนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นอกจากนี้กลุ่มผู้บริโภคในฮ่องกงที่มีจำนวนจำกัด ในขณะที่สินค้าออร์แกนิกไทยจะเป็นที่นิยมของชาวฮ่องกงเฉพาะกลุ่มยังไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง
- โอกาสทางการค้าสินค้าออร์แกนิกไทยในตลาดฮ่องกง
ความต้องการผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกคาดว่าจะเติบโตด้วยจำนวนประชากรที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้นโดย ตลาดผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกในฮ่องกงจะเติบโตโดยมีค่า CAGR ในอัตราเฉลี่ย 9.0% ในช่วงปี 2564-2569 และมีมูลค่า 137.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าออร์แกนิกไทยที่มีศักยภาพในการขยายตลาดไปยังฮ่องกง อาทิ ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอมมะลิ สมุนไพรต่างๆ อาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่เน้นปลอดสารพิษหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกที่มีกระบวนการผลิตที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด
10. ข้อเสนอแนะ
10.1 ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาตลาดเป้าหมายโดยครอบคลุมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ในการส่งออกสินค้าออร์แกนิก บรรจุภัณฑ์ ฉลากโภชนาการ รสนิยม และการกำหนดราคา เพื่อผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด
โดยเครื่องหมายรับรองในตัวผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นสิ่งสำคัญต่อสินค้าออร์แกนิก หากผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นมีเครื่องหมายรับรองและเป็นเครื่องหมายที่ออกจากองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ นอกจากจะสามารถช่วยทำให้สินค้าเกิดความน่าสนใจ ยังทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าออร์แกนิกที่ได้มาตรฐาน
10.2 ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกไทยที่ได้ความนิยมในฮ่องกงมีโอกาสเป็นอย่างดีในการขยายตลาดสู่ผู้บริโภคชาวจีน
ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอ่าวกวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า (Greater Bar Area) ที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวที่ฮ่องกง และมีความเชื่อมั่นในสินค้าที่จำหน่ายในฮ่องกง ทำให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสเข้าถึงตลาดขนาดใหญ่กว่า 80 ล้านคนเพิ่มขึ้น
อ้างถึง : https://globalorganictrade.com/country/hong-kong
https://www.cfs.gov.hk/english/multimedia/multimedia_pub/files/Organic_Certification_and_Labelling_e.pdf
https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx
อ่านข่าวฉบับเต็ม : ตลาดสินค้าออร์แกนิกในฮ่องกง