ภาพรวมตลาด
จากคำจำกัดความโดยกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา ชาหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่นำต้นชาซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักมาผลิตและแปรรูปเป็นลักษณะต่างๆ และแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ ชาที่ต้องกรอง ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และชาสำเร็จรูปพร้อมชง
-
- ชาที่ต้องกรอง หมายถึง ชาที่เกิดจากการแปรรูปต้นอ่อน, ใบ, ดอกไม้, ลำต้น, ราก, ผลไม้, หรือธัญพืชเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งต้องนำไปแช่น้ำและกรองก่อนบริโภค
- ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม หมายถึง การใช้วัตถุดิบต้นชาเป็นวัตถุดิบหลักและแปรรูปโดยวิธีต่างๆ เช่น การสกัด การเพิ่มส่วนผสม เช่น ผลไม้ หรือการเพิ่มสารเติมแต่งอาหารเข้าไป บรรจุอยู่ในลักษณะพร้อมดื่ม
- ชาสำเร็จรูปพร้อมชง หมายถึง การแปรรูปวัตถุดิบจากต้นชามาอยู่ในรูปแบบของผงชาพร้อมชา
ผลิตภัณฑ์ชาทั่วไปในตลาดเกาหลีใต้
สัดส่วนการจำหน่ายชาในเกาหลีใต้ แบ่งตามประเภท
(หน่วย: ล้านวอน)
※ สถิติการขายเครื่องดื่มชาจาก Korean Statistical Information Service
-
- คอมบูชาและชาสมุนไพรที่มีการผสม รวมอยู่ในประเภทอื่นๆ ของชาที่ต้องกรอง
- ชาธัญพืช เช่น ชาข้าวบาร์เลย์ ชาไหมข้าวโพด ถังเช่า และชาแพทย์แผนโบราณ เช่น ชามาเต ชาซังฮวา รวมอยู่ในประเภทอื่นๆ ของชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
- ผงชาคอมบูชา ชานม และชาขิง รวมอยู่ในประเภทอื่นๆ ของชาสำเร็จรูปพร้อมชง
สถานะการจำหน่ายชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
-
- มูลค่าการจำหน่ายชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม คิดเป็น 46% ของยอดขายชาทั้งหมด
(หน่วย: ล้านวอน)
-
- ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ปี 2564
(หน่วย: ล้านวอน)
-
- ส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม 5 อันดับแรกในปี 2564
(หน่วย: ล้านวอน)
สถานะการผลิตชาในเกาหลีใต้
-
- ปริมาณและมูลค่าการผลิตชา
ในปี 2564 ปริมาณการผลิตชาอยู่ที่ 550,608 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 12.7% จาก 488,646 ตันในปี 2563 อีกทั้ง มูลค่าการผลิตในช่วงเดียวกันเพิ่มขึ้น 5.2% จาก 866.5 พันล้านวอนเป็น 911.5 พันล้านวอน ซึ่งบ่งบอกได้ถึงกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
-
- การผลิตชาแบ่งตามประเภท
การผลิตชาสามารถแบ่งออกเป็นชาที่ต้องกรอง ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม และชาสำเร็จรูปพร้อมชง ตามที่กระทรวงความมั่นคงของอาหารและยา
โดยประเภทที่มีส่วนแบ่งการผลิตสูงสุดในปี 2564 คือ ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม 61.9% ตามด้วยชาสำเร็จรูปพร้อมชง 19.5% และชาที่ต้องกรอง 18.7%
- การผลิตชาที่ต้องกรอง
ในปี 2564 การผลิตชาที่ต้องกรองมีปริมาณ 41,012 ตัน เพิ่มขึ้น 49.4% จาก 27,488 ตันในปี 2563 ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562
ความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่มีการใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้น ทำให้การผลิตและจำหน่ายชาที่ต้องกรองเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
– ปริมาณการผลิตชาที่ต้องกรอง
(หน่วย: ล้านวอน, ตัน)
- การผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
การผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มปี 2564 มีปริมาณ 481,516 ตัน เพิ่มขึ้น 0.3% จาก 436,557 ตันในปี 2563 และมีมูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 1.6% จาก 555 พันล้านวอน เป็น 564 พันล้านวอน
สินค้าที่คิดเป็นสัดส่วนมากที่สุดของชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ได้แก่ ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มชนิดอื่นๆ เช่น ชาข้าวบาร์เลย์ ชาไหมข้าวโพด ชาฮ็อกเก็ต ชามาเต และชาเย็น
กระแส Hallyu หรือ Korean Wave ก็ได้ส่งผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์ชาเช่นกัน โดยชาซีตรอนและคอมบูชาได้รับความนิยมมากขึ้นจากอิทธิพลของวง BTS นักร้องเกาหลีที่ได้รับความนิยมทั่วโลก
– ปริมาณการผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมดื่ม
(หน่วย: ล้านวอน, ตัน)
- การผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมชง
มูลค่าการผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมชงลดลงในช่วงปี 2561 ถึง 2563 แต่หลังจากปี 2563 ได้เพิ่มขึ้นถึง 8% เป็น 177.5 พันล้านวอนในปี 2564 และปริมาณการผลิตก็เพิ่มขึ้นตามถึง 14% จาก 24,641 ตันเป็น 28,080 ตัน
เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดชานมและคอมบูชาในตลาดชาสำเร็จรูปพร้อมชงระหว่างปี 2563 ถึง 2564 ซึ่งทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตเพิ่มขึ้น ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับปริมาณการผลิต
– ปริมาณการผลิตชาสำเร็จรูปพร้อมชง
(หน่วย: ล้านวอน, ตัน)
สถานะการนำเข้าชามายังเกาหลีใต้
-
- การจำแนกชนิดของชาสามารถจำแนกได้ตามรหัส HS ของใบชาที่เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นแบบหมักหรือไม่หมัก
- การนำเข้าชาในปี 2565 มีมูลค่าอยู่ที่ 26.22 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้น 5.3% จาก 24.89 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 และเพิ่มขึ้น 25.7% จากปี 2561 โดยหากแบ่งตามประเภทการนำเข้า การนำเข้าชาดำคิดเป็นร้อยละ 97.3 จากทั้งหมด
- นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ชุดน้ำชายามบ่าย (Afternoon Tea Set) ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคผู้หญิง ทำให้โรงแรมหรูและห้างสรรพสินค้าปล่อยผลิตภัณฑ์ชาดำออกมาหลากหลายชนิด รวมทั้งความต้องการชาดำระดับพรีเมี่ยมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
การนำเข้าชาจากประเทศต่างๆ มายังเกาหลีใต้
– ชาเขียว (HSK 0902.10, 0902.20, ไม่ผ่านการหมัก)
(หน่วย: แสนเหรียญสหรัฐ)
– ชาดำ (HSK 0902.30, 0902.40, ผ่านการหมัก)
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ)
- สถิติของชามาเตและสารสกัดของชามาเตมีการแยกสถิติออกมาต่างหาก เนื่องจากถูกจัดประเภทเป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่ง
– ชามาเต (HSK 0903)
(หน่วย: แสนเหรียญสหรัฐ)
– สารสกัดของชามาเต (HSK 2101.20)
(หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐ)
ช่องทางการจำหน่าย
-
- ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มของเกาหลี ถือเป็นสินค้าที่เติบโตมากที่สุดในตลาดชาทั้งหมดของประเทศ ซึ่งเป็นการจำหน่ายผ่านช่องทางออฟไลน์ส่วนใหญ่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และผ่านทางออนไลน์ เช่น Coupang Market Kurly SSG เป็นต้น
- สำหรับช่องทางการขายจำหน่ายชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มในปี 2564 การจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึง 71.4% ของจำนวนทั้งหมด เนื่องจากสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่ายทุกที่และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น 2 แถม 1 หรือ 1 แถม 1 เป็นต้น ตามมาด้วยซูเปอร์มาร์เก็ต 13.1% ร้านอาหาร 9.3% และไฮเปอร์มาร์เก็ต 5.8% ตามลำดับ
- สำหรับไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยทั่วไป ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ซื้อชาควบคู่กับสินค้าชนิดอื่น ซึ่งชาที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจ ได้แก่ ชาแบบดั้งเดิมหรือชาที่ต้องกรอง
พฤติกรรมของผู้บริโภค
-
- ตลาดผลิตภัณฑ์ชาของเกาหลีใต้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากความสนใจในกระแสต่างๆ เช่น ประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ความสนใจในสุขภาพ การป้องกันโรคต่างๆ ที่เครื่องดื่มอย่างชา เช่น ชาเขียว ชาดำ ชาเบลนด์ ชาธัญพืช ชาสมุนไพร และชาผูเอ่อร์ เป็นต้น สามารถช่วยป้องกันได้
- ในปี 2565 สัดส่วนชาที่ต้องกรองและชาสำเร็จรูปพร้อมชงในท้องตลาดได้ลดลง จากความยุ่งยากในขั้นตอนการชงชา แตกต่างกับชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
- นอกจากนี้ ร้านกาแฟแฟรนไชส์ทั่วไปก็ได้ปล่อยเครื่องดื่มชาภายใต้แบรนด์ของตัวเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ร้านคาเฟ่ที่ให้บริการชาหลากหลายขนิดก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน
แนวโน้มในตลาดผลิตภัณฑ์ชาของเกาหลีใต้
1. ความหลากหลายของความต้องการจากผู้บริโภค จากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนในสังคม
-
- มีการปรับและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ชาชนิดใหม่ที่เหมาะสำหรับประชากรสูงอายุ
- นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทชาพร้อมดื่มมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมจากกลุ่มคนรุ่น MZ เนื่องจากมีความสะดวกในการซื้อและมีราคาไม่แพง
2. กระแสความใส่ใจต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น
-
- มีการปล่อยผลิตภัณฑ์ชาเพื่อสุขภาพออกมามากขึ้น เช่น ชามาเต ชารากไม้ ชาผูเอ่อร์ ชาฮิบิสคัส เพื่อตอบสนองความสนใจและความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากชาช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายและบรรเทาความเครียดได้ อีกทั้ง ยังมีคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ จึงเหมาะกับผู้บริโภคที่มีอาการนอนหลับยากด้วย
- นอกจากสุขภาพกายแล้ว ผลิตภัณฑ์ชายังส่งผลดีต่อด้านจิตใจและสภาวะทางอารมณ์ เช่น ชาสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ชาดอกไม้ ชาผลไม้ เป็นต้น ที่สามารถช่วยเยียวยาจิตใจได้เช่นกัน
3. ผลิตภัณฑ์ชาหลากหลายรสชาติ
-
- ล่าสุด ในตลาดชาของเกาหลีใต้ มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาเบลนด์รสต่างๆ ตามร้านกาแฟทั่วไป เช่น องุ่น ทับทิม เป็นต้น โดยรสชาติและชนิดของผลไม้จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล
- การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลากหลายชนิดกำลังผลักดันการเติบโตของตลาดชา เนื่องจากเป็นการดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึง การทำบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ เช่น การทำชุดชาสำหรับมอบเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ เป็นต้น
กฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าชามาเกาหลีใต้
-
- โดยทั่วไป ผู้นำเข้าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในประเทศสำหรับสินค้านำเข้า ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารต้องผ่านการตรวจสอบจากกระทรวงความปลอดภัยอาหารและยาและสามารถนำเข้าอาหารได้หลังจากเสร็จสิ้นการจดทะเบียนแล้ว
- ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ตามพระราชบัญญัติพิเศษว่าด้วยการควบคุมความปลอดภัยของอาหารนำเข้าและพระราชบัญญัติส่งเสริมการประหยัดและรีไซเคิลทรัพยากร โดยผู้นำเข้าทุกคนต้องรายงานตัวต่อ Korea Environment Corporation เพื่อชำระค่าธรรมเนียม
- ตามการจัดเก็บอัตราภาษีแบบดั้งเดิมของ Asia-Pacific (Asia-Pacific Conventional Tax Rate) ภาษีชาเขียวอยู่ที่ 20% สำหรับ 7.8 ตันต่อปี
- นอกจากนี้ หากมีการบ่งบอกถึงปริมาณที่ชัดเจนให้กับ Korea Agro-fisheries & Food Trade Corporation จะจัดเก็บอัตราภาษี 40%
- สำหรับอัตราภาษีนำเข้าสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ จะอยู่ที่ 513.6%
- ภาษีสำหรับชาดำคือ 0% ผ่านการใช้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน – เกาหลี (ASEAN – Korea Free Trade Agreement: AKFTA)
- อย่างไรก็ตาม ชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มส่วนใหญ่ที่จัดเป็น HSK 210120 อัตราภาษีจะอยู่ที่ 5~20%
โอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทยในตลาดผลิตภัณฑ์ชาเกาหลีใต้
-
- ตลาดผลิตภัณฑ์ชาเกาหลีใต้คาดว่าจะยังคงอัตราการเติบโตต่อไป เนื่องจากความสนใจในสุขภาพที่สูงในปัจจุบัน โดยสินค้าที่คาดว่าจะเติบโตในอนาคตในตลาดเกาหลี ได้แก่ ชาเบลนด์ ชาข้าวบาร์เลย์ ชาสมุนไพร ชารากไม้ ชาข้าวโพด และชาเขียว
- ชาเบลนด์ (Blend Tea) หรือชาที่นำสมุนไพร ผลไม้ หรือดอกไม้อบแห้งผสมลงไปในการชงชา จะได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่ จากรสชาติและกลิ่นที่แปลกใหม่ การคำนึงถึงสุขภาพและความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยอดขายของร้านกาแฟแฟรนไชส์ที่กำลังเพิ่มขึ้น
- ชาข้าวบาร์เลย์คาดว่าจะยังคงเติบโตต่อไป จากผู้บริโภคที่นิยมรับประทานแทนน้ำดื่มทั่วไป
- ชาสมุนไพรที่สอดคล้องกับแนวโน้มด้านสุขภาพยังได้รับความนิยม และมีแนวโน้มว่าจะเข้าร่วมกับเทรนด์สินค้าพรีเมี่ยม เพื่อเจาะกลุ่มคนรุ่น MZ
- ชาเขียวและชาดำจะมีการบริโภคและยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในลักษณะชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มและถุงชา
ผลิตภัณฑ์ชาจากไทยบนช่องทางจำหน่ายสินค้าออนไลน์ของเกาหลี
ความเห็นสำนักงานฯ ตลาดผลิตภัณฑ์ชาของเกาหลีใต้ยังคงเติบโตได้ในอนาคต จากการพัฒนาของผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อกระแสในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่เปลี่ยนแปลงตลอด โดยคีย์เวิร์ดหลักที่ส่งผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์ชาคือ ความผ่อนคลายและการเยียวยาสภาวะอารมณ์ (Emotional healing) ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการดูแลตัวเอง (Self-care) ที่ผู้บริโภคจะเลือกสินค้าที่ดีต่อร่างกายที่สุด เช่น ผู้บริโภคบางกลุ่มเลือกดื่มชาแทนน้ำดี่มเนื่องจากให้ความสดชื่น หรือผู้ที่ใส่ใจสุขภาพก็จะเลือกดื่มชา เพราะปราศจากคาเฟอีนและน้ำตาลน้อย รวมถึง ยังไม่ส่งผลต่อการนอนหลับ เช่น คอมบูชา ซึ่งเป็นชาที่ให้ความสดชื่นและช่วยฟื้นฟูร่างกาย อีกทั้ง ยังปราศจากน้ำตาลและมีหลากหลายรสชาติให้เลือกตามความชอบ จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน
สำหรับโอกาสของสินค้าชาไทยในเกาหลีใต้นั้น จากสินค้าชาสำเร็จรูปพร้อมดื่มของไทยที่มีการเติบโตภายในประเทศและเป็นที่รู้จักสำหรับผู้บริโภคเกาหลีอยู่แล้ว อีกทั้ง ประเทศไทยมีทรัพยากรอย่างส่วนประกอบชนิดธัญพืชหลากหลายชนิด ซึ่งหากนำมาผลิตเป็นชาที่มีรสชาติแปลกใหม่และน่าสนใจ หรือจะเพิ่มมูลค่าให้เป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยม เช่น ชุดสำหรับ Afternoon tea หรือ ชุดของขวัญในโอกาสต่างๆ ก็จะเพิ่มศักยภาพที่จะขยายตลาดในเกาหลีใต้ได้ดี
******************************
สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล
31 พฤษภาคม 2566
ที่มา:
(1) 2022 Tea Market Staus, 2023.02.27. Korea Agro-Fisheries & Food Trade Corp.
(2) Food Production in Korea, 2022.08.04, Food Information Statistics System, www.atfis.or.kr