หน้าแรกTrade insightข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ > ตลาดข้าวในสาธารณรัฐเยเมน

ตลาดข้าวในสาธารณรัฐเยเมน

ปัญหาด้านอาหารในเยเมน

เยเมนมีประชากร 33.7 ล้านคน ในปัจจุบันชาวเยเมนกำลังเผชิญกับความยากแค้นทางอาหารในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากข้อมูลของ World Food Program : WFP ระบุว่ามีผู้คนจำนวน 17 ล้านคน หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรเยเมน กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตและภาวะฉุกเฉินด้านความไม่มั่นคงทางอาหาร (IPC 3 และ 4) โดยเป็นผลกระทบของสงครามกลางเมือง ทำให้ราคาข้าวสาลีและธัญพืชพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

ตลาดข้าวในเยเมนอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เนื่องจากกำลังการผลิตในประเทศที่จำกัด เยเมนนำเข้าธัญพืชจากต่างประเทศประมาณร้อยละ 90 โดยข้าวเป็นอาหารหลักรองจากข้าวสาลี เนื่องจากข้าวสาลีมีราคาต่ำที่สุดและสามารถให้พลังงานได้มากที่สุด โดยนำเข้าข้าวสาลีประมาณ 3 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากออสเตรเลีย รัสเซีย ยูเครน และสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 100 กิโลกรัมต่อหัวต่อปี ส่วนข้าวนั้นเคยมีการนำเข้าจากอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่หลังจากรัฐบาลอินเดียใช้นโยบายห้ามส่งออกข้าวขาวและข้าวบาสมาติ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อลดปัญหาราคาสินค้าในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นจนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และเป็นการรักษาความนิยมจากการเลือกตั้ง

การค้าต่างประเทศของเยเมน

                   จากข้อมูลของ OEC ระบุการส่งออกหลักของเยเมน ในปี 2565 ได้แก่ ปิโตรเลียมดิบ (57.3%)  เศษเหล็ก (6.4%) ทองคำ (5.6%) หอย (3.4%) และปลาแช่แข็ง (3.1%) ส่วนการนำเข้าอาหารประกอบด้วย       ข้าวสาลี (9.2%) เหล็กเส้น (4.6%)   ข้าว (4.1%) น้ำตาลดิบ (2.6%) และนมผง (2.4% )

คู่ค้านำเข้าหลักของเยเมน ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา

สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย บราซิล อินเดีย ไทย และเยอรมนี

แนวโน้มการนำเข้าอาหารในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีเสถียรภาพ แม้ว่าจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนสงครามเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สินค้าอาหารที่นำเข้าคิดเป็นประมาณ 70%ของอาหารโดยปริมาตร และการพึ่งพาการนำเข้าธัญพืชอยู่ที่ประมาณ 97% อาหารที่นำเข้าคิดเป็น 83% ของปริมาณ  แคลอรี่ที่ชาวเยเมนได้รับในแต่ละวัน

การนำเข้าอาหารและเชื้อเพลิงยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีความตึงเครียดและความท้าทายด้านความปลอดภัยในทะเลแดงที่เพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2567 มีการนำเข้าข้าวสาลีประมาณ 1.4 ล้านตัน ผ่านท่าเรือสามแห่ง ได้แก่ Aden, Al Hodeidah และ As Saleef ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทำให้อาหารมีความเพียงพอ นอกจากนี้ เมือง Al Hodeidah และ As Saleef มีการนำเข้าข้าวสาลี 73% ของการนำเข้าทั้งหมด โดยอีก 27% ที่เหลือส่งผ่านท่าเรือทางใต้ของ Aden และ Mukalla

การนำเข้าข้าว

อ้างจากสถิติ Trade Map จัดทำโดย The International Trade Centre : ITC แสดงข้อมูล การนำเข้าข้าวเชิงมูลค่าและปริมาณของเยเมน ขอสรุปได้ดังนี้

ปี 2564 มูลค่า 367.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 571,345 ตัน

ปี 2565 มูลค่า 447.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+21.9%) ปริมาณ 585,367ตัน (+2.5%)

ปี 2566 มูลค่า 78.4  ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-82.5%) ปริมาณ 167,027 ตัน (-71.5%)

ก่อนปี 2566 เยเมนได้เคยนำเข้าข้าวจากอินเดีย (สัดส่วน 74%) ปากีสถาน (5%) ยูเออี (2%) ซาอุดิอาระเบีย (0.6%) และโอมาน (0.3%) แต่หลังจากอินเดียห้ามส่งออกข้าว รวมทั้งประเทศ     ยูเออี ซาอุดิอาระเบีย โอมาน ที่ส่งออกต่อ  (Re-export) ข้าวอินเดียไปเยเมนได้รับผลกระทบเช่นกัน และทำให้ตลาดส่งออกข้าวในเยเมนของไทยคึกคักในปี 2566

ในปี 2566 เยเมนนำเข้าข้าวลดลงด้วยเหตุผลหลายประการ:

  1. แนวโน้มตลาดโลก ตลาดข้าวโลกประสบปัญหาครั้งใหญ่ เนื่องจากการส่งออกข้าวจากอินเดียลดลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าข้าวจากอินเดียของเยเมน นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้ออกคำสั่งห้ามส่งออกและส่งออกต่อ (Re-export) สินค้าข้าว ชั่วคราวเป็นเวลา 4 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 เพื่อรักษาอุปทานข้าวให้เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ โดยทั้งอินเดียและยูเออีเป็นแหล่งนำเข้าข้าวที่สำคัญของเยเมน
  2. การอ่อนค่าของเรียลเยเมนเมื่อเทียบกับเหรียญสหรัฐฯ ทำให้เยเมนมีต้นทุนการนำเข้าข้าว จากอินเดียและต่างประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าลดลง
  3. แหล่งนำเข้าทางเลือก เยเมนได้กระจายแหล่งนำเข้าข้าวของตนเพื่อลดการพึ่งพา Supplier รายเดียว นำไปสู่การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากประเทศอื่นๆ เช่น ปากีสถานและไทย ซึ่งช่วยชดเชยการนำเข้าที่ลดลงจากอินเดียการส่งออกของไทยจากสถิติของกรมศุลกากร โดยความร่วมมือของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ แสดงมูลค่าและปริมาณการส่งออกข้าวจากไทยไปเยเมนในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สรุปได้ดังนี้ปี 2565 มูลค่า 83.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-8.7%)   ปริมาณ 177,892 ตัน (-12.8%) ได้แก่    ข้าวนึ่ง (สัดส่วน 56.7%) ข้าวหอมมะลิ  (สัดส่วน 27.3%) และ ข้าวขาว   (สัดส่วน 15.9%)ปี 2565 ข้าวนึ่งมูลค่า 73.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-12.08%) ปริมาณ  148,936 ตัน (-16.3%)ปี 2567 (ม.ค.-เม.ย)  ข้าวนึ่งมูลค่า 37.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+286.75%) ปริมาณ 63,481 ตัน (+192.3%)

    การผลิตในประเทศ

    เยเมนเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดและมีการพัฒนาน้อยที่สุดในโลก โดยชาวเยเมนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ พื้นที่เพาะปลูกของประเทศเพียงประมาณ 3% เท่านั้น แม้ว่าประมาณหนึ่งในสามจะเหมาะสำหรับการเลี้ยงสัตว์ก็ตาม พืชที่พบมากที่สุดคือธัญพืช เช่น ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวสาลี            ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งข้าวฟ่างนั้นเป็นธัญพืชที่ทนแล้งได้ดี โดยพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศในที่ราบสูงทางตอนเหนือ ได้แก่ กาแฟ (อาราบิก้า) และคัต (qāt; Catha edulis) แม้ว่าประเทศจะสามารถผลิตอาหารบางส่วนได้ แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ ชาวเยเมนนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารประจำวัน ข้าวที่หุงด้วยเนื้อแกะ “Mandi” เป็นข้าวแบบดั้งเดิมในเยเมนและเสิร์ฟในครัวเรือน ข้าวส่วนใหญ่ที่บริโภคในเยเมนนั้นเป็นข้าว     บาสมาติ แต่เนื่องจากปัญหาการเงินและวิกฤตต่าง ๆ ทำให้เยเมนต้องนำเข้าข้าวราคาถูกเพิ่มมากขึ้น

    ความเห็นของสคต.ดูไบ

    หลังผ่านพ้นการเลือกตั้งในเดือนเมษายน – พฤษภาคมนี้ มีความเป็นไปได้ที่อินเดียจะยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวขาวของไทยอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากอินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวมากอันดับ 1 ไปเยเมน ดังนั้นจากการที่อินเดียจะกลับมาส่งออกข้าวตามปกติ ทำให้ไทยต้องเผชิญการแข่งขันด้านราคาส่งออกข้าวขาวไทยที่สูงกว่าอินเดีย และทำให้ส่วนแบ่งตลาดส่งออกข้าวขาวไทยในตลาดนี้ลดลง นอกจากนี้ข้าวนึ่งของอินเดียมีราคาต่ำกว่าไทยมาก ทําให้ผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวนึ่งจากอินเดียมากกว่า

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ตลาดข้าวในสาธารณรัฐเยเมน

Login