ปัจจุบัน ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ในจีน นิยมใช้บรรจุภัณฑ์เป็นจุดดึงดูดผู้บริโภคและเพิ่มมูลค่าของสินค้า และเนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ทำให้ขยะจากบรรจุภัณฑ์ในจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลของรัฐบาลจีน ระบุว่า ปัจจุบันขยะที่มาจากบรรจุภัณฑ์ของจีนคิดเป็นประมาณ 30-40% ของขยะภายในเมือง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและปริมาณขยะ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรและสร้างขยะหากใช้เกินความเหมาะสม โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง ทั้งนี้หน่วยงานด้านการกำกับดูแลตลาดและหน่วยงานด้านมาตรฐานสินค้าของจีนจึงได้ออกกฎระเบียบแก้ไขกฎระเบียบฉบับเดิมที่ว่าด้วยการจำกัดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปสำหรับสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องสำอาง หน่วยงานกำกับดูแลการตลาดแห่งรัฐของจีนได้แก้ไขและออกมาตรฐานแห่งชาติบังคับ “ข้อกำหนดด้านบรรจุภัณฑ์ที่มากเกินไปสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องสำอาง” (GB 23350-2021) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2566 โดยมีการกำหนดมาตรฐานบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร 31 หมวด และเครื่องสำอาง 16 หมวด ซึ่งสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าอย่างเด็ดขาด ซึ่งข้อรายละเอียดกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้
(1) ข้อกำหนดสำหรับจำนวนชั้นบรรจุภัณฑ์ ระบุว่า สินค้าธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูปในอาหารไม่ควรมีบรรจุภัณฑ์เกินสามชั้น และอาหารและเครื่องสำอางอื่น ๆ ไม่ควรบรรจุเกินกว่าสี่ชั้น
(2) ต้นทุนบรรจุภัณฑ์: ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ยกเว้นชั้นแรกของบรรจุภัณฑ์จะต้องไม่เกิน 20% ของราคาขายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ขนมไหว้พระจันทร์และบ๊ะจ่างที่มีราคาขายมากกว่า 100 หยวน นอกจากบรรจุภัณฑ์ด้านในสุดแล้ว บรรจุภัณฑ์อื่นๆ จะต้องมีต้นทุนไม่เกิน 15% ของราคาขายผลิตภัณฑ์ และห้ามไม่ให้ขนมไหว้พระจันทร์และบ๊ะจ่างจะต้องไม่ใช้วัสดุโลหะมีค่าและวัสดุไม้มะฮอกกานีมาใช้ทำบรรจุภัณฑ์ รวมถึงขนมไหว้พระจันทร์ไม่ควรบรรจุรวมกับสินค้าอื่นๆ และบ๊ะจ่างไม่ควรบรรจุรวมกับสินค้าที่เกินราคาของบ๊ะจ่าง
(3) ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ :ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ไม่รวมบรรจุภัณฑ์ด้านในกับอัตราส่วนต่อพื้นที่บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งข้อกำหนดค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ในระเบียบ GB 23350-2021 มีดังต่อไปนี้
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 มล. หรือ 1 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 85% |
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 1 มล. หรือ 1 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5 มล. หรือ 5 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 70% |
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 5 มล. หรือ 5 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 มล. หรือ 15 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 60% |
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 15 มล. หรือ 15 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 มล. หรือ 30 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 50% |
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่า 30 มล. หรือ 30 กรัม และน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 มล. หรือ 50 กรัม อัค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 40% |
– ปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์ด้านในชิ้นเดียวมากกว่าหรือเท่ากับ 50 มล. หรือ 50 กรัม ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์ไม่ควรเกิน 30 % |
หมายเหตุ: ตารางนี้ใช้ไม่ได้กับผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ชั้นเดียว และสำหรับเครื่องสำอางที่ต้องใช้ร่วมกัน ให้อ้างอิงจากผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณสุทธิมากที่สุดเป็นหลัก
โดยสูตรการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็นในกล่องบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้
สูตรคำนวณ:
X —— ค่าสัมประสิทธิ์พื้นที่จำเป็น
Vn —— ขนาดบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ หน่วยลูกบาศก์มิลลิเมตร (mm³)
V0 —— ขนาดบรรจุภัณฑ์ด้านในของผลิตภัณฑ์ หน่วยลูกบาศก์มิลลิเมตร (mm³)
k —— อัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์
ซึ่งประเภทอาหารและเครื่องสำอางที่มีการกำหนดอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์ สามารถดูได้จากตารางที่ 2 และตารางที่ 3 ตามลำดับ ดังนี้
ตารางที่ 2 ตารางแสดงอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์อาหาร
รายการสินค้า |
k |
|
ธัญพืชและผลิตภัณฑ์แปรรูป |
4.5 |
|
น้ำมัน ไขมัน และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสิ่งของดังกล่าว |
4.5 |
|
เครื่องปรุงรส |
5.0 |
|
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ |
7.0 |
|
ผลิตภัณฑ์นม |
4.5 |
|
เครื่องดื่ม |
5.0 |
|
อาหารสำเร็จรูป |
9.5 |
|
คุกกี้ |
10.0 |
|
อาหารกระป๋อง |
2.5 |
|
เครื่องดื่มแช่แข็ง |
6.0 |
|
อาหารแช่แข็ง |
5.0 |
|
มันฝรั่งและอาหารพอง |
20.0 |
|
ลูกอม |
10.0 |
|
ชาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง |
13.0 |
|
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ |
13.0 |
|
ผลิตภัณฑ์จากผัก |
7.0 |
|
ผลิตภัณฑ์จากผลไม้ |
7.0 |
|
เมล็ดพืชคั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว |
5.5 |
|
ผลิตภัณฑ์จากไข่ |
4.5 |
|
ผลิตภัณฑ์โกโก้และกาแฟคั่ว |
4.5 |
|
น้ำตาล |
4.5 |
|
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ |
4.5 |
|
แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง |
3.0 |
|
ขนมอบ |
ขนมไหว้พระจันทร์ |
7.0 |
ขนมไหว้พระจันทร์ |
5.0 |
|
ขนมอบอื่นๆ |
12.0 |
|
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง |
5.0 | |
ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง |
5.0 |
|
อาหารเสริมสุขภาพ |
18.0 |
|
อาหารทางการแพทย์พิเศษ |
3.0 |
|
อาหารสำหรับทารก |
3.0 |
|
อาหารสำหรับผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม |
3.0 |
|
อาหารอื่น ๆ |
10.0 |
|
– ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ต้องทำด้วยเครื่องชง คือ 3.5 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณสุทธิน้อยกว่า 10 กรัมคือ 5 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์สูบอากาศ คือ 2 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน | ||
– ค่า k ของผลิตภัณฑ์หมูหยอง คือ 10.0
– ค่า k ของผลิตภัณฑ์นมผง คือ 3.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบผง คือ 15.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์แบบชง คือ 11.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำแข็งแห้งและสารทำความเย็นอื่นๆ ในบรรจุภัณฑ์ คือ 9.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากช็อกโกแลตที่มีลักษณะรูปร่างเหมือนมันฝรั่งทอด คือ15.0 g ค่า k ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นการติดฉลากอายุการเก็บรักษา มีปริมาณการจำหน่ายขั้นต่ำต่อปีน้อยกว่า 10,000 ชิ้น และมีคำว่า “จำนวนจำกัด” และปริมาณการผลิตพิมพ์อยู่บนบรรจุภัณฑ์ คือ 30.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลแห้ง คือ 60.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอบกรอบคือ 20.0 – ค่า k ของผลิตภัณฑ์ยาเม็ด แคปซูล ยาผงแกรนูล หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน เครื่องดื่มอื่นๆ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุกกี้ ลูกอม ขนมอบ นมแบบน้ำ (ไม่รวมแคปซูลแบบหยด) เทียบจากหมวดหมู่อาหารทั่วไปที่เกี่ยวข้อง |
ตารางที่ 2 ตารางแสดงอัตราส่วนช่องว่างในกล่องบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอาง
ลักษณะสินค้า | รายการสินค้า |
k |
แบบของเหลวทั่วไป |
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลเส้นผม |
9.0 |
โทนเนอร์ |
9.0 |
|
ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมและดัดผม |
9.0 |
|
เจล |
9.0 |
|
แบบครีมโลชั่น |
การดูแลผิวและการทำความสะอาด |
9.0 |
ผลิตภัณฑ์ดูแลผม |
9.0 |
|
ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผมและดัดผม |
9.0 |
|
แบบผง |
แป้งฝุ่น |
15.0 |
แป้งอัดแข็ง |
15.0 |
|
ผลิตภัณฑ์ย้อมสีผม |
8.0 |
|
เกลือขัดผิว |
5.0 |
|
แบบสเปรย์และตัวทำละลายอินทรีย์ | สเปรย์ |
5.0 |
ตัวทำละลายอินทรีย์ |
15.0 |
|
แบบขี้ผึ้ง | แว็กซ์ |
20.0 |
แบบยาสีฟัน | ยาสีฟัน |
5.0 |
ลักษณะอื่นๆ |
12.0 |
|
– ค่าสูงสุดของอายไลเนอร์ชนิดน้ำและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว คือ 20.0
– กล่องเครื่องสำอางที่ประกอบด้วยแป้งพัฟ บลัชออน อายแชโดว์ และผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 รายการ (หมายเลขสีต่างกันนับเป็นหลายผลิตภัณฑ์) คือ 60.0 – ผลิตภัณฑ์เดียวที่มีปริมาณสุทธิน้อยกว่า 0.2 กรัม/มิลลิลิตร คือ 80 |
||
– ค่าผลิตภัณฑ์ที่มีก๊าซป้องกัน เช่น ไนโตรเจน คือ 11.0
– ค่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ 15 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน – ค่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อย่างอื่น คือ 2 เท่าของผลิตภัณฑ์ที่ประเภทเดียวกัน |
ซึ่งหากผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่กล่าวข้างต้นไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานหนึ่งในสามรายการนี้ บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์จะถูกระบุว่าเป็นบรรจุภัณฑ์เกินกำหนด สินค้าและบริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานไม่อนุญาตให้ผลิต ขาย นำเข้าหรือจัดหาในจีน และหลังจากช่วงเปลี่ยนผ่านการดำเนินการสองปี อาหารและเครื่องสำอางที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซ้ำและขายในตลาดจีนได้ต่อไป
ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทย และแนวทางการปรับตัวของภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางของจีนมีการพัฒนาอย่างมาก ขณะเดียวกัน การแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล่านี้ก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สินค้าหลายชนิดต่างออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่หรูหราเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ส่งผลให้เกิดปัญหาสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ที่หรูหรามากเกินไปและกลายเป็นความฟุ่มเฟือย รัฐบาลจีนจึงได้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคสินค้าตามปริมาณที่กำหนด หรือตามที่ระบุไว้ในฉลาก ในบรรจุภัณฑ์สินค้า และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขยะบรรจุภัณฑ์มากเกินไป เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่งออกสินค้า ทั้งสองประเภทนี้ ควรศึกษารายละเอียดกฎระเบียบนี้ เพื่อปรับกลยุทธ์การผลิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดการใช้บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องสำอางดังกล่าว เพื่อให้การส่งออกสินค้าไทยไปยังจีนได้อย่างราบรื่นต่อไป
https://www.sxx.gov.cn/zwgk/public/1851/62045281.html
https://www.gov.cn/xinwen/2021-09/03/content_5635105.htm
http://www.heyuan.gov.cn/hysscjdj/attachment/0/45/45615/512885.pdf?eqid=88a54fbc0015307a000000066486c9a4
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)