หน้าแรกTrade insightเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า > จากนี้ถึงสิ้นปีเศรษฐกิจสปป.ลาว จะกลับมาดีขึ้น

จากนี้ถึงสิ้นปีเศรษฐกิจสปป.ลาว จะกลับมาดีขึ้น

เป็นที่รับรู้กันดีว่าเศรษฐกิจสปป.ลาว อยู่ในสภาวะบอบบาง ภาครัฐเองพยายามหาทุกช่องทางในการแก้ไขปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาราคาสินค้า และค่าเงิน

เมื่อไม่นานนี้ ธนาคารแห่งสปป.ลาว ได้จัดการประชุมระหว่างธนาคารแห่งสปป.ลาว ร่วมกับภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน และสื่อมวลชน เพื่อเป็นการรายงานสภาพเศรษฐกิจการเงิน-เงินตรา ไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2566 โดยมีนายสุลิสัก ทำนุวงค์ อธิบดีกรมนโยบายเงินตรา เป็นประธานการประชุม

ท่านอธิบดีกรมฯ กล่าวรายงานให้ทราบถึงสภาพเศรษฐกิจของสปป.ลาว ยังคงเผชิญกับสิ่งท้าทายหลายด้านต่อเนื่อง ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน โดยเฉพาะการสืบเนื่องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นหากเทียบกับหลายสกุลเงิน สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการปรับลดในระยะหนึ่ง ความไม่แน่นอนของระบบธนาคารโลกหลังจากที่มีการล้มละลายของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ทั้งสองแห่งของสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ธนาคารซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley Bank) และธนาคารซิกเนเจอร์ (Signature Bank) และปัจจัยอื่นๆ

จากสถานการณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกดดันให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของสปป.ลาว ให้มีความลำบาก อย่างไรก็ตามสภาพเศรษฐกิจภายในของสปป.ลาว ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นจากการเปิดประเทศและการเร่งแก้ไขปัญหาของรัฐบาลในข่วงปีผ่านมา เห็นได้จากอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจคาดว่าในปี 2566 นี้จะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากเดิมปี 2565 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 สำหรับอัตราเงินเฟ้อแม้ว่าจะยังอยู่ในระดับสูง แต่ช่วงเดือนมีนาคมผ่านมามีแนวโน้มลดลงที่ร้อยละ 40.97 จากเดิมเดือนกุมภาพันธ์มีถึงร้อยละ 41.26 เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน-เงินตราแห่งชาติให้มั่นคง ลดผลกระทบต่อการดำลงชีวิตของประชาชนและบรรลุตามเป้าหมายที่สภาแห่งชาติได้กำหนดไว้ ซึ่งในปี 2566 ธนาคารแห่งสปป.ลาว จะดำเนินนโยบายเงินตราที่รัดกุมกว่าเดิมและคุ้มครองการแลกเปลี่ยนเงินให้มีความเข้มงวดขึ้น ทั้งนี้ ยังมีการสร้างสภาพแวดล้อมเพิ่มการสนองเงินตราต่างประเทศให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้น ควบคู่การคุ้มครองแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแบบผิดกฎหมายและมาตรการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลได้มีการแต่งตั้งคณะโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักและกระทรวงเกี่ยวข้อง รวมถึงธนาคารแห่งสปป.ลาว เป็นผู้กำหนดโครงสร้างราคาสินค้าแต่ละประเภทที่ส่งผลกระทบต่อ CPI และสินค้านำเข้าโดยเฉพาะสินค้าหมวดเสบียงอาหาร หมวดผลิตเกษตรกรรม

นอกจากนี้ธนาคารแห่งสปป.ลาว ยังมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินมาตรการติดตามแก้ไขการติดประกาศ การโฆษณาราคาสินค้าและการบริการให้เป็นเงินกีบ การคุ้มครองรายรับจากการส่งออกเพื่อให้กระแสเงินตราเข้าสู่ระบบให้ตรงตามตัวเลขการส่งออกจริง และส่งเสริมการประหยัดเงินตรา เช่นจำกัดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยบนพื้นฐานไม่ขัดกับหลักการการค้าสากล

https://laoedaily.com.la/2023/04/20/122355/

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เวียงจันทน์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login