หน้าแรกTrade insightเกษตรอื่นๆ > จับตามองแนวโน้มตลาดชาในจีน

จับตามองแนวโน้มตลาดชาในจีน

1.ประวัติความเป็นมาของชา

ชา เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมทั่วโลก เนื่องจากมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายหลายประการ เช่น ทำให้ร่างกายสดชื่น ต้านอนุมูลอิสระและช่วยป้องกันโรคได้มากมาย โดยชามีต้นกำเนิดที่จีนเมื่อประมาณ 4,000 กว่าปีที่แล้ว และแพร่หลายทั่วโลกผ่านการค้าขายกับประเทศต่าง ๆ ทั้งทางบกผ่านเส้นทางสายไหมและทางทะเลผ่านการค้าในเมืองท่าต่าง ๆ และด้วยคุณสมบัติของชา ทำให้เครื่องดื่มนี้ได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลก จนบางประเทศมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชา เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่นและอังกฤษ เป็นต้น

 2.มูลค่าตลาด

มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมชาในจีนยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี โดยอัตราการเติบโตต่อปีเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 8 – 11 ซึ่งในปี 2565 มูลค่าตลาดชาในจีนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 321,000 ล้านหยวน และ   คาดว่าในปี 2566 จะมีมูลค่าประมาณ 351,180 ล้านหยวน นักวิเคราะห์ของ iiMedia Research เผยว่าจีนเป็นประเทศที่ผลิตชาและมีขนาดตลาดการบริโภคชาที่ใหญ่ที่สุดในโลก และในอนาคตอุตสาหกรรมชาในตลาดจีนยังคงสามารถรักษาแนวโน้มการพัฒนาเชิงบวกในระยะยาวได้อย่างมั่นคง

3.สถิติการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ชาของจีน

จีนนำเข้าผลิตภัณฑ์ชาจากประเทศต่าง ๆ

(HS Code Products : 0902 , 0903)

ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2566

จีนส่งออกผลิตภัณฑ์ชาไปยังประเทศต่าง ๆ

(HS Code Products : 0902 , 0903)

ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม ปี 2566

 4.การบริโภค

ชาเป็นสัญลักษณ์ของมิตรไมตรี การต้อนรับญาติมิตรสหายเมื่อมาเยือนถึงที่บ้าน เจ้าของบ้านต้องต้อนรับด้วยชาร้อน ซึ่งถือเป็นมิตรไมตรีอันอบอุ่นจากเจ้าของบ้านที่จะขาดไม่ได้

ชามีสรรพคุณทางยาที่เครื่องดื่มชนิดอื่นไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น ช่วยให้ผ่อนคลาย อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเรื่องสุขภาพหัวใจและการทำงานของสมอง

ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนนิยมดื่มชา

ที่มา : report.iimedia.cn

ประเภทชาที่ผู้บริโภคชาวจีนชื่นชอบ

ที่มา : report.iimedia.cn

5.ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาในตลาดจีน

6.ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชาในจีน

7.แนวโน้มของอุตสาหกรรมชาในจีน

7.1 ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การ Live Streaming ได้กลายเป็นรูปแบบการตลาดใหม่สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยการ Live Streaming สินค้าเกษตรได้ทำให้ยอดขายของสินค้านั้น ๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจีนเป็นอย่างดี ปัจจุบันบริษัทชาในตลาดจีนได้ใช้กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์สินค้าและแบรนด์ผ่านคลิปวิดีโอสั้นและการ Live Streaming เป็นต้น

7.2 การแข่งขันของตลาดชาในจีนมีความดุเดือดมากขึ้น ผู้ประกอบการรายใหม่และรายเก่าได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของตลาด พฤติกรรมการบริโภค และนวัตกรรมการผลิต เป็นต้น ปัจจุบัน อุตสาหกรรมชาแบบดั้งเดิมได้เข้าสู่ระยะการเติบโตแบบอิ่มตัวแล้ว ทำให้บริษัทชารายใหม่เริ่มคิดค้นสูตรชาใหม่ ๆ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ในอนาคตอุตสาหกรรมชาในจีนได้ทยอยพัฒนาด้วยการ Co-Branding มากขึ้น ดังนั้นแบรนด์ชาต่าง ๆ จะต้องวางตำแหน่งด้านการตลาดอย่างชัดเจน เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ตรงตามจุด

7.3 ในอนาคตผู้บริโภคชาวจีนมีความต้องการคุณภาพชาที่สูงขึ้น และต้องการบรรจุภัณฑ์ชาที่ทันสมัย สวยงาม เพื่อส่งมอบเป็นของขวัญในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ

7.4 เพื่อสร้างจุดขายใหม่ ๆ ผู้ประกอบการจีนได้ค้นหาวัตถุดิบชาคุณภาพดี สร้างความสะดวกต่อการบริโภคในสถานการณ์ต่าง ๆ มากขึ้น และยกระดับเทคโนโลยีการผลิตชาเข้าสู่ระดับกลาง-สูง เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบของชา คุณภาพและรสชาติของชาที่กลมกล่อมมากขึ้น

ความคิดเห็น สคต.

จีนเป็นประเทศที่นิยมบริโภคชาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ตลาดชามีการแข่งขันสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของคุณภาพ ราคา และความหลากหลายของสินค้า รวมทั้งจีนยังเป็นผู้ผลิตชาอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น การสร้างจุดเด่นและจุดขายของผลิตภัณฑ์ชาจึงเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคจีนในยุคปัจจุบัน

จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์ชาไปจำหน่ายยังตลาดจีน เนื่องจากที่ผ่านมาการส่งออกชาของไทยส่วนใหญ่เป็นการส่งออกวัตถุดิบชาหรือชาสำเร็จรูปเกรดทั่วไป ยังมีผู้ประกอบการส่วนน้อยที่มีการสร้างแบรนด์ชาสำเร็จรูประดับกลาง-สูงที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้ ชาอินทรีย์ก็เป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น และต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนส่วนใหญ่นิยมส่งมอบชาเป็นของขวัญให้แก่ญาติมิตรสหายในโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ และที่สำคัญผู้ประกอบการไทยควรประชาสัมพันธ์สินค้าด้วยการสร้างคอนเทนต์และเรื่องราวผ่านโซเชียลมีเดียในตลาดจีน เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและแนวโน้มตลาดชาในจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวจีนต่อไป

ที่มา :

https://www.iimedia.cn/c400/87099.html,

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login