หน้าแรกTrade insightเครื่องดื่ม > จับตามองเทรนด์น้ำผลไม้ NFC ในตลาดจีน

จับตามองเทรนด์น้ำผลไม้ NFC ในตลาดจีน

  1. ความหมายของน้ำผลไม้ NFC

NFC ย่อมาจาก “not from Concentrated” น้ำผลไม้ NFC หมายถึง น้ำผลไม้คั้นสดที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการระเหยและไม่ได้ผ่านการทำให้เจือจาง แต่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้วบรรจุลงในขวด โดยน้ำผลไม้ NFC จะมีเพียงแค่น้ำผลไม้เท่านั้น ไม่มีสารเติมแต่ง น้ำตาล หรือน้ำใด ๆ ทั้งสิ้น ถึงแม้จะเป็นน้ำผลไม้คั้นสดแบบเพียว ๆ แต่การพาสเจอร์ไรซ์ก็เป็นการทำให้น้ำผลไม้คั้นสดร้อนขึ้นจนถึงอุณหภูมิหนึ่งและทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในกระบวนการนี้ทำให้เกิดความร้อนขึ้น ส่งผลให้คุณค่าทางโภชนาการลดลงไปด้วย แต่ก็มีข้อดีในเรื่องของการยืดอายุการเก็บรักษา

 

  1.  มูลค่าตลาด

ปัจจุบันแนวคิดการบริโภคของผู้บริโภคจีนมีการเปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเครื่องดื่มที่มีคุณภาพและมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ตลาดน้ำผลไม้ของจีนมีการเติบโต ในทิศทางที่ดี โดยในปี 2565 ขนาดตลาดของผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของจีนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 137,580 ล้านหยวน และคาดว่าในอนาคตจะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่าง   ต่อเนื่อง หลังจากมีพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ NFC ของจีนได้เริ่มมีการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ NFC เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคจีนหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพและมี              ความต้องการน้ำผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

  1. สถิติการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ของจีนจากประเทศทั่วโลก

จีนนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้จากประเทศทั่วโลก (HS Code 2009)

ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ปี 2566

จีนส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ไปยังประเทศทั่วโลก (HS Code 2009)

ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม ปี 2566

  1. การบริโภค

รสชาติของน้ำผลไม้ NFC ที่ได้รับความนิยมในปี 2566

  1. ช่องทางการจำหน่ายน้ำผลไม้ NFC ในตลาดจีน

  1. ตัวย่างผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ NFC ในตลาดจีน

  1.  แนวโน้มของอุตสาหกรรม

7.1 จากกระแสรักสุขภาพได้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของการปรับปรุงผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ NFC เช่น เป็นธรรมชาติ ไม่ใส่สารปรุงแต่ง มีโภชนาการ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริโภคจีนยังให้ความสนใจกับส่วนผสมของน้ำผลไม้ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น มีปริมาณฟรุกโตสสูง ใส่สารปรุงแต่ง ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการได้ให้ความสนใจมากขึ้นและมีการปรับปรุงและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคจีนในยุคปัจจุบันมากขึ้น

7.2 เนื่องจากอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ NFC ค่อนข้างสั้น ทำให้ส่งผลต่อระยะเวลา การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ต้นทุนการผลิตและการขนส่ง เป็นต้น จากการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์และเทคนิคการฆ่าเชื้อจะสามารถช่วยยืดระยะเวลา   การเก็บรักษาได้นานขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถจัดเก็บและสัมผัสกับประสบการณ์การดื่มน้ำ ผลไม้ NFC ได้ดียิ่งขึ้น

7.3 ปัจจุบันราคาเฉลี่ยของน้ำผลไม้ NFC ในตลาดจีนที่มีการบรรจุ 300 มล. อยู่ที่ประมาณ 5-10 หยวน ในขณะเดียวกัน แบรนด์ต่างๆ ได้มีแนวโน้มผลิตน้ำผลไม้ NFC ระดับกลางถึง   ระดับไฮเอนด์ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกระดับ

7.4 เนื่องจากความชอบในรสชาติน้ำผลไม้ NFC และความต้องการส่วนผสมทางโภชนาการที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงมีรสชาติเฉพาะที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมและรสชาติที่แปลกใหม่ เช่น ทับทิม มะนาว และเกรปฟรุต เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งยังช่วยสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ในด้านความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย

7.5 หลายแบรนด์ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ น้ำผลไม้ NFC ที่ละเอียดมากขึ้น เพื่อตอบสนอง ความต้องการในสถานการณ์การบริโภคต่างๆ เช่น ขนาดบรรจุต่ำกว่า 500 มล. ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในการดื่มและพกพาสะดวก และขนาด 1 ลิตร เหมาะกับสถานการณ์การจัดเลี้ยงและสังสรรภายในครอบครัว เป็นต้น

ความคิดเห็น สคต.

ปัจจุบันจีนมีการยกระดับการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระดับคุณภาพชีวิตของ            ผู้บริโภคชาวจีนดีขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคชาวจีนทุกวัยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยมี     ความต้องการสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้ NFC ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงฤดูร้อนนี้ เนื่องจากมีวิตามินสูง ดื่มแล้วสดชื่นและดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะเห็นว่าตลาดน้ำผลไม้ NFC เป็นแนวโน้มที่หลายบริษัท      ผู้ผลิตเครื่องดื่มในจีนหันมาให้ความสนใจในปัจจุบัน

จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ผลิต/ผู้ประกอบการน้ำผลไม้ของไทย เนื่องจากไทยมีทรัพยากร     ผลไม้ที่หลากหลาย โดยผู้ประกอบการไทยสามารถนำผลไม้ในฤดูกาลต่าง ๆ มาผลิตเป็นน้ำ   ผลไม้ที่มีรสชาติแปลกใหม่และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคจีน รวมถึงการร่วมมือกับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตลาดจีน หรือการ Co-Branding กับ                    ผู้ประกอบการจีน รวมทั้งที่การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักบนสื่อโซเชียลมีเดียชื่อดังของจีน ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคได้เป็นวงกว้าง แต่อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยควรพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนและกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเครื่องดื่มน้ำผลไม้ไปยังจีน รวมถึงมุ่งเน้นการทำตลาดออนไลน์ตามเทรนด์         การเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายและเสริมสร้างให้สินค้าเป็นที่รู้จักในตลาดจีนมากขึ้น เพื่อให้การแข่งขันในตลาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

*****************************************

 https://report.iresearch.cn/report_pdf.aspx?id=4192

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login