หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > ความป่วยไข้ของเศรษฐกิจเยอรมัน

ความป่วยไข้ของเศรษฐกิจเยอรมัน

ในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ นิตยสารด้านเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของแห่งประเทศอังกฤษอย่าง The Economist เรียกเยอรมนีว่า “คนป่วย” ของ Eurozone หรือ “คนป่วยแห่งยุโรป” ในเวลานั้น เศรษฐกิจ เยอรมันถูกเพื่อนบ้านทิ้งห่าง แต่ไม่นานหลังจากการปฏิรูปตลาดแรงงาน และระบบสวัสดิการสังคม เศรษฐกิจ เยอรมันจึงกลับมาไล่ตามเพื่อนบ้านได้อีกครั้ง และได้รับคำชื่นชมจากนิตยสาร The Economist และในขณะนี้ ที่ดูเหมือนว่าเยอรมนีกำลังที่จะถูกทิ้งห่างอีก เห็นได้จากตัวชี้วัดต่างๆ ที่แสดงผลในด้านลบ ทำให้เห็นถึงการ ขาดพลวัตทางเศรษฐกิจ ต่างกับที่ประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่กำลังเติบโตอีกครั้ง ทำให้วาทะกรรมนี้กลับมา เตือนความจำอีกครั้ง บทความนี้จะกล่าวถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเยอรมันในขณะนี้ รวมถึงจุดอ่อนใดที่ กำลังปรากฏชัดเจน

สถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจเยอรมัน

เศรษฐกิจของเยอรมนีกำลังอยู่ในภาวะตกต่ำ และการฟื้นตัวในฤดูใบไม้ผลิที่หวังไว้กลับไม่เป็นความจริง ตัวชี้วัด การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดคือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สะท้อนถึงมูลค่าสินค้าและ บริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศภายในหนึ่งปี ในหกเดือนที่ผ่านมา เศรษฐกิจเยอรมันถดถอยเข้าสู่ภาวะที่ เรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค กล่าวคือ ภาวะถดถอยในระยะสั้น โดยติดลบสองไตรมาสติดต่อกัน เหตุผลสำคัญคืออัตราเงินเฟ้อที่สูงซึ่งทำให้ความต้องการที่จะใช้จ่ายของผู้คนลดลง หลังจากที่ GDP ลดลงใน สองไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจเยอรมันยังคงไม่ฟื้นตัวและซบเซาในไตรมาสที่สอง

อนาคตอันใกล้ของเศรษฐกิจเยอรมัน

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่าการฟื้นตัวขึ้นอย่างกะทันหันไม่น่าจะเป็นไปได้ โดยเศรษฐกิจ เยอรมันจะหดตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2566 นี้ เช่นเดียวกันกับธนาคารแห่งชาติเยอรมันที่คาดว่า GDP จะลดลงใน จำนวนเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ตามการคาดการณ์ของรัฐบาลในเดือนเมษายน 2566 คาดว่า GDP จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 ในปีนี้ และมีกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์บางกลุ่มคาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2

ตัวชี้วัดอื่น ๆ

นอกจาก GDP แล้ว ยังมีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ ที่แสดงภาพรวมของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ หนึ่ง ในนั้นคือดัชนีสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ โดยในทุกๆ เดือน บริษัทเยอรมันจะถูกถามว่าพวกเขาประเมินสถานการณ์ ทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตอย่างไร และผลการสำรวจล่าสุดในเดือนกรกฎาคม แสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อม ทางธุรกิจยังคงไม่สดใส ซึ่งเป็นเดือนที่สามติดต่อกันแล้วที่ผลออกมาในลักษณะนี้ และโดยปกติแล้วนัก เศรษฐศาสตร์มักจะตีความการลดลงสามครั้งติดต่อกันของดัชนีว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์เงินเฟ้อยังคงรุนแรง

อัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นภาระและสิ่งที่ผู้บริโภคต้องแบกรับมาหลายเดือน อัตราเงินเฟ้อที่สูงยังบั่นทอนกำลังซื้อ ของผู้บริโภค ส่งผลให้หลายคนจำกัดการบริโภค และสิ่งนี้ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจซึ่งมีการบริโภค ภาคเอกชนเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐิจ

เป็นความจริงที่อัตราเงินเฟ้อผ่อนคลายลงบ้างในเดือนกรกฎาคม 2566 หลังจากการเพิ่มขึ้นครั้งล่าสุด ดัชนี ราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ ห่างไกลจากอัตราเป้าหมายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ร้อยละ 2 นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์ยังเห็นว่า การลดระดับของอัตราเงินเฟ้อที่รวดเร็วและทั่วถึงคงเป็นไปได้ยาก และการสำรวจล่าสุดโดยสถาบันวิจัยทาง เศรษฐกิจ Institut für Wirtschaftsforschung (IFO) ยังบ่งชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงอย่างเชื่องช้า

สถานการณ์ตลาดแรงงานเยอรมัน

เศรษฐกิจที่อ่อนแอยังส่งผลลบต่อตลาดแรงงานมากขึ้น ในเยอรมนีเป็นเรื่องปกติที่ตัวเลขการว่างงานจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการหยุดงานฤดูร้อนในเดือนกรกฎาคม ซึ่งในปีที่แล้วสถานการณ์ตลาดแรงงานดีกว่าปี 2566 นี้มาก จากข้อมูลของสำนักงานแรงงานแห่งสหพันธรัฐฯ จำนวนผู้ว่างงานในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็น 2.617 ล้านคนใน เดือนกรกฎาคม ซึ่งมากกว่าเดือนมิถุนายนถึง 62,000 คน และมากกว่าปีที่แล้วถึง 147,000 คน โดยอัตราการ ว่างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 เป็นร้อยละ 5.7 ในเดือนกรกฎาคม นาง Andrea Nahles หัวหน้า สำนักงานแรงงานฯ กล่าวว่า ความต้องการแรงงานยังคงมีการชะลอตัว โดยสำนักงานฯ ได้รายงานตำแหน่ง งานว่างในเดือนกรกฎาคม 772,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 108,000 ตำแหน่ง

ปฏิกิริยาของสมาพันธ์ธุรกิจต่าง ๆ

นาย Siegfried Russwurm ประธานสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมได้แสดงความคิดเห็นที่รุนแรง “โชคไม่ดีที่ ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจทั้งหมดลดลง ซึ่งแสดงการแก้ปัญหาที่ผิดทิศทางโดยสิ้นเชิง” จากข้อมูลแนวโน้มการ เติบโตทางเศรษฐกิจของ IMF ในปัจจุบัน เยอรมันเป็นเพียงประเทศเดียวที่ GDP จะลดลงในปี 2566 นี้ จาก ทั้งหมด 22 ประเทศและภูมิภาคที่ได้ทำการศึกษาวิจัย

ส่วนนาย Rainer Dulger ประธานสมาพันธ์นายจ้างแห่งเยอรมนี กล่าวว่า “เราอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราเงินเฟ้อยังรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เรามีต้นทุนด้านพลังงานที่สูงที่สุด มีภาษีและค่าแรงที่สูงมาก ใน ขณะเดียวกันเรายังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรม” โดยเขาเห็นว่าปัญหาต่างๆ เหล่านี้ผสมผสานกับการขาด แคลนทักษะ ทำให้สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจและบรรยากาศการลงทุนเลวร้าย และเพื่อก้าวข้ามปัญหาเหล่านี้ เยอรมนีต้องเร่งกระบวนการ Digitalization เพื่อให้ประเทศมีความคล่องตัวและเป็นมิตรต่อโลกธุรกิจมากขึ้น การเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

ในไตรมาสที่สองปี 2566 เศรษฐกิจ Eurozone โดยรวมขยายตัว แม้ว่าจะเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.3 ส่วน เศรษฐกิจเยอรมันยังคงไม่ฟื้นตัวหดตัวร้อยละ 0.2 เศรษฐกิจสเปนและฝรั่งเศสขยายตัวร้อยละ 0.4 และ 0.5 ตามลำดับ เศรษฐกิจอิตาลีหดตัวร้อยละ 0.3 ดัชนีราคาผู้บริโภคในยูโรโซนยังเพิ่มขึ้นช้ากว่าในเยอรมนี ในเดือน กรกฎาคม 2566 ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ใน เดือนก่อนหน้า

สาเหตุของความตกต่ำของเศรษฐกิจเยอรมัน

เศรษฐกิจของเยอรมนีได้รับประโยชน์จากอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อ ผลกระทบของสงครามรัสเซียกับยูเครน การปรับโครงสร้างการจัดหาพลังงานและราคาพลังงานและวัสดุที่สูง อย่างต่อเนื่องเป็นภาระหนักสำหรับหลายบริษัท สหภาพแรงงานจึงเรียกร้องราคาไฟฟ้าสำหรับ ภาคอุตสาหกรรม โดย นาง Yasmin Fahimi ประธานสมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งเยอรมนี (DGB) กล่าวว่า “บริษัทที่ใช้พลังงานมากหลายแห่งกำลังประสบปัญหาเนื่องจากราคาพลังงานที่สูงเกินไปในเยอรมนี จึงให้พวก เขาไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างประเทศได้”

ผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 1.3 จากเดือนก่อนหน้า ทำให้สมาคมอุตสาหกรรมต่าง ออกมาแสดงถึงความกังวลถึงการลดอุตสาหกรรม (Deindustrialization) ที่กำลังคืบคลานเข้ามา เนื่องจาก บริษัทต่างๆ มีแรงจูงใจและสามารถย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศได้เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่สูง

ผลผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลงอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษในเดือนมิถุนายนถึงร้อยละ 3.5 ทั้งนี้เป็นผลมา จากการส่งออกที่อ่อนแอลง เช่น ไปยังจีน: ในเดือนมิถุนายน การส่งออกของเยอรมนีไปยังสาธารณรัฐ ประชาชนจีนลดลงร้อยละ 5.9 จากข้อมูลของสถาบันเศรษฐกิจแห่งเยอรมนี และการส่งออกรถยนต์และ ชิ้นส่วนรถยนต์ของเยอรมันไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนลดลงร้อยละ 26 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

“ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจของจีนสามารถเห็นได้ชัดเจนในการส่งออกของเยอรมัน” นาย Thomas Gitzel หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ VP Bank จากประเทศลีชเทินชไตน์ กล่าว นอกจากนี้ นาย Carsten Brzeski หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ING กล่าวว่า “การส่งออกไม่ใช่กลไกขับเคลื่อนการเติบโตที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ของเศรษฐกิจเยอรมันเหมือนที่เคยเป็นอีกต่อไป หากแต่เป็นตัวฉุดรั้งเท่านั้น”

ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อบริษัทต่าง ๆ

บริษัทขนาดใหญ่รวมถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมต่างรู้สึกถึงผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย กลุ่ม เคมีภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก BASF ประสบปัญหากำไรตกต่ำในไตรมาสที่สอง หลังจากรายได้ลดลงอย่างมากใน ปี 2565 คณะกรรมการบริษัทได้ประกาศว่าจะเลิกจ้างงาน 2,600 ตำแหน่งทั่วโลก เนื่องจากต้นทุนด้าน พลังงานที่สูงและเศรษฐกิจที่อ่อนแอ

อุตสาหกรรมเครื่องกลก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน คำสั่งซื้อที่ตกต่ำในขณะนี้ยังไม่มีจุดสิ้นสุด หลังจาก คำสั่งซื้อลดลงอีกครั้งในเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ จำนวนการล้มละลายในเยอรมนีเพิ่มขึ้นอีกครั้งอย่างมี นัยสำคัญ บริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อ Creditreform ได้จดทะเบียนบริษัทที่ล้มละลาย 8,400 แห่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งแรกของปี 2565

ความพยายามในการบรรเทาวิกฤตเศรษฐกิจ

แนวทางแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำมีทั้งความหลากหลายและซับซ้อน ในนิตยสาร “Handelsblatt” นัก เศรษฐศาสตร์สิบคนเพิ่งนำเสนอข้อเสนอเพื่อให้เยอรมนีกลับสู่เส้นทางการเติบโต เช่น การลดภาษีนิติบุคคล การยกเลิกภาษีไฟฟ้า หรือการยกเลิกการเกษียนอายุเมื่ออายุ 63 หรือน้อยกว่า

Marcel Fratzscher ประธานสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งเยอรมัน (DIW) กล่าวในหนังสือพิมพ์ของกลุ่มสื่อ Funke เพื่อต่อต้านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุนเงินลงทุนแก่เอกชนและการลดภาษี “เยอรมนี ไม่ได้มีปัญหาทางเศรษฐกิจแต่มีปัญหาเชิงโครงสร้าง” โดย นาย Fratzscher แสดงความคิดเห็นว่าพิจารณาว่า “โครงการปฏิรูปเศรษฐกิจระยะยาวด้วยการลงทุนเชิงรุกในโครงสร้างพื้นฐาน การลดระดับและเพิ่ม ประสิทธิภาพระบบราชการในวงกว้าง และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสวัสดิการสังคม” มีแนวทาง การแก้ปัญหาที่ดีกว่า และในขณะเดียวกันรัฐบาลกลางควรที่จะ “ละทิ้งความหมกมุ่นในการลดระดับหนี้ สาธารณะในช่วงเวลาวิกฤตนี้”

ที่มา: www.TAGESSCHAU.de

 

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login