หน้าแรกTrade insightสุกร > ความน่าสนใจของตลาดสินค้าฮาลาลในยุโรป เห็นได้จากความร่วมมือของบอสเนียฯ กับการ์ตา

ความน่าสนใจของตลาดสินค้าฮาลาลในยุโรป เห็นได้จากความร่วมมือของบอสเนียฯ กับการ์ตา

📰 ข่าวเด่นประจำเดือนกรกฎาคม 2567 โดย สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
www.thaitradebudapest.hu / Facebook Fanpage: @ThaiTradeBudapest 
Cover Photo Credit: Zawya

 

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา กับประเทศกาตาร์ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีพรมแดนติดกัน แต่ก็มีประเด็นความสอดคล้องกันในหลายมิติ โดยเฉพาะการที่ประเทศบอสเนียฯ มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามมากกว่าครึ่งประเทศ[1] ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของทั้งสองฝ่าย ทั้งการยกระดับความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเป้าหมายสำคัญของบอสเนียฯ คือการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสในการได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ส่วนประเทศกาตาร์ มีความต้องการที่จะขยายตลาดการค้าการลงทุนในภูมิภาคยุโรปกลางและบอลข่าน นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังต้องการการพัฒนาด้านการศึกษาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะในการพัฒนาสินค้าสมัยใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และแนวโน้มความต้องการของโลก เช่น การผลิตสินค้าเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังมีการแบ่งปันทางความรู้ด้านกลาโหม การพัฒนาการผลิตสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างประโยชน์และความแข็งแกร่งของทั้งสองประเทศในเวทีโลก

 

การพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศที่เห็นได้ชัด คือเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 นายซูกาน เฮเลซ (Zukan Helez) รองประธานสภารัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นชาวมุสลิม ได้ผลักดันการสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและศาสนาของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ นอกจากการสร้างความร่วมมือกันในการพัฒนาด้วยเศรษฐกิจและความมั่นคงแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ด้านศาสนาและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศด้วย

 

สินค้าที่บอสเนียฯ นำเข้ามาจากกาตาร์มากที่สุด คืออลูมิเนียมดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักรกลในอุตสาหกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยในปี 2564 บอสเนียฯ นำเข้าอลูมิเนียมดิบอยู่ที่ปีละ 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และก้าวกระโดดมาเป็น 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2566 แสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าที่บอสเนียฯ นำเข้าจากการ์ตามากขึ้นถึงเกือบสองเท่าตัว

 

นอกจากนี้ บอสเนียฯ มีความพยายามที่จะมีบทบาทมากขึ้นในกลุ่มประเทศที่ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะการโปรโมทการท่องเที่ยวฮาลาล หรือ Halal tourism[2]  อันเป็นข้อได้เปรียบในการสร้างการท่องเที่ยวสำหรับชาวมุสลิมให้สามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญทางศาสนา และร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารฮาลาล  โดยในปัจจุบัน บอสเนียฯ เป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตอาหารฮาลาลในสัดส่วนสำคัญในทวีปยุโรป โดยเป็นประเทศแรกที่จัดตั้งหน่วยงานคัดกรองอาหารฮาลาล หรือ Agency for Halal Quality Certification ขึ้นมาเมื่อปี 2549 เพื่อเป็นหน่วยงานที่จะรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ฮาลาลตามกฎหมายซารีอะห์

 

อย่างไรก็ดี ประเทศบอสเนียฯ ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตและแปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูปฮาลาล เช่น เนื้อแดง ธัญพืชต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากเขตชายแดนที่มีพื้นที่ติดกับทะเลของบอสเนียฯ มีอยู่อย่างจำกัด เพียงแค่ 20 กิโลเมตรที่เมือง Neum ทำให้บอสเนียฯ ไม่สามารถผลิตอาหารทะเลได้มากตามจำนวนที่ต้องการ ซึ่งเป็นช่องทางและโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการส่งออกอาหารทะเลไทย โดยในปี 2565 บอสเนียฯ มีการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศไทย มูลค่าสูงถึง 7.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 25% ของสัดส่วนการนำเข้าสินค้าอาหารทะเลจากต่างประเทศของบอสเนียฯ ทั้งหมด เนื่องมาจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าจากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งการที่สินค้ามีคุณภาพสูง ได้รับความเชื่อถือจากตลาดขนาดใหญ่ สินค้ามีมาตรฐานสากล และมีความหลากหลายมากกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ

 

[1] ประชาชนประมาณครึ่งหนึ่งของบอสเนียฯ นับถือศาสนาอิสลาม เนื่องจากเคยถูกปกครองโดยจักรวรรดิออตโตมันที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก

[2] การท่องเที่ยวฮาลาล คือ การท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของชาวมุสลิม เริ่มจากการให้บริการจากสถานที่ต้นทางไปจนถึงจุดหมายปลายทาง เช่น การโรงแรม การขนส่ง ร้านอาหาร การพักผ่อนหย่อนใจ การให้ความบันเทิงต่างๆ ที่จะต้องไม่ขัดกับหลักศาสนา รวมทั้ง การอำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติศาสนกิจประจำวันของชาวมุสลิม เช่น การจัดเตรียมสถานที่ละหมาด เป็นต้น

 

💭 ข้อคิดเห็นของ สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์ 💭

 

ในปัจจุบัน ประเทศไทย ประเทศบอสเนียฯ และประเทศการ์ต้า ยังมีความสัมพันธ์ทางการค้าร่วมกันไม่มากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ จากโอกาสที่เริ่มเปิดช่องทางค้าขาย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทย อาจเห็นได้ถึงโอกาสในการที่ทั้งสามรัฐบาลจะสามารถร่วมมือกันในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น ตัวอย่างจากการที่รัฐบาลกาตาร์เริ่มมีการสร้างข้อตกลงร่วมกันกับรัฐบาลบอสเนียฯ ในการร่วมมือกันพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ และสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ จากศักยภาพที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนี้เอง ผู้ประกอบการไทยควรแสวงหาโอกาสการส่งออกสินค้าไปยังทั้งสามประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเล และผลิตภัณฑ์ฮาลาลอื่นๆ เนื่องจากตลาดที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มีจำนวนมากในหลายประเทศ ดังนั้น การได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศบอสเนียฯ กับประเทศการ์ตา จึงเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบการไทยเล็งเห็นศักยภาพ และให้ความสำคัญกับตลาดในกลุ่มนี้มากขึ้นกว่าตลาดเก่า ซึ่งประสบปัญหาเศรษฐกิจซบเซา อัตราเงินเฟ้อสูง และประชาชนมีศักยภาพในการอุปโภค/บริโภคสินค้าลดลง

 

Infographic ความร่วมมือระหว่างประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และประเทศกาตาร์

 

ข้อมูลและอินโฟกราฟิก จัดทำโดย วรวิช เจตมงคลนวัช

 

มอนเตเนโกรระงับการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสุกรจาก 43 ประเทศทั่วโลก 🐷 เนื่องจากโรค ASF ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกเนื้อสุกรจากไทย

สคต. ณ กรุงบูดาเปสต์
31 กรกฎาคม 2567

อ่านข่าวฉบับเต็ม : ความน่าสนใจของตลาดสินค้าฮาลาลในยุโรป เห็นได้จากความร่วมมือของบอสเนียฯ กับการ์ตา

Login