รายงานการสํารวจตลาดผู้บริโภคในเยอรมนีซึ่งจัดทําโดยสถาบันวิจัย forsa (หนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านการวิจัยตลาดและการสำรวจตลาดในเยอรมนี) ซึ่งได้รับมอบหมายจากสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกอาหารแห่งเยอรมนี Bundesverband des Deutschen Lebensmittelhandels (BVLH) เพื่อใช้สำหรับงานแสดงสินค้าอาหาร ANUGA ซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ที่เมืองโคโลญ พบว่า สัดส่วนของชาวเยอรมันที่งดเว้นจากการรับประทานผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์อย่างชิ้นเชิง หรือวีแกนได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ชาวเยอรมันร้อยละ 3 ระบุว่าเป็นวีแกน (Vegan) และร้อยละ 9 นิยมรับประทานอาหารมังสวิรัติ (Vegetarian) นอกจากนี้ ชาวเยอรมันกว่าร้อยละ 41 ระบุว่าพวกเขายังบริโภคเนื้อสัตว์อยู่ แต่ลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์ลงในแต่ละมื้ออาหาร หรือที่เรียกว่า flexitarians
ผู้หญิงและคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะกินอาหารมังสวิรัติ
จากผลการสํารวจแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะงดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากกว่าผู้ชายโดยร้อยละ 12 ของผู้หญิงเป็นมังสวิรัติ ในขณะที่ผู้ชายมีสัดส่วนการเป็นมังสวิรัติเพียงร้อยละ 6 นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าคนหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี นิยมรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์มากขึ้น สัดส่วนกว่าร้อยละ 15 เป็นมังสวิรัติ เมื่อเทียบกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 ที่เป็นมังสวิรัต นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้บริโภคเปิดกว้างมากขึ้นในการปรุงอาหารตามสูตรมังสวิรัติในครัวเรือน
สินค้าอาหารมังสวิรัติในร้านค้าปลีก
จากการสํารวจพบว่ามีเพียงหนึ่งในห้า (21%) เห็นว่าตัวเลือกผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติ และอาหารโปรตีนจากพืชในร้านค้าปลีกในเยอรมนีน้อยเกินไป และ 72% คิดว่าเพียงพอหรือถูกต้องตามความต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่ ชาวเยอรมนี 3% เห็นว่าตัวเลือกผลิตภัณฑ์อาหารวีแกนใหญ่เกินไป
นอกจากนี้ ยังพบว่ายิ่งผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งพบว่าตัวเลือกผลิตภัณฑ์สินค้าอาหารปราศจากเนื้อสัตว์ในร้านค้าปลีกมีน้อยเกินไป ฃึ่งเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองจากผู้บริโภคที่อายุไม่เกิน 30 ปี
อย่างไรก็ตาม หากสำรวจเฉพาะผู้บริโภคที่เป็นมังสวิรัติจะสังเกตเห็นว่าสัดส่วนที่มากขึ้นของพวกเขามีความเห็นว่าตัวเลือกของผลิตภัณฑ์ปราศจากเนื้อสัตว์น้อยเกินไป โดย 44 % ของกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติระบุว่าตัวเลือกของผลิตภัณฑ์ปราศจากเนื้อสัตว์น้อยเกินไป ทั้งนี้ 55% ระบุว่าตัวเลือกอาหารมังสวิรัตเพียงพอหรือถูกต้องตามความต้องการแล้ว และ 1% ระบุว่าตัวเลือกสินค้ามังสวิรัติมากเกินไป
เป็นที่น่าสนใจที่จะว่า 43% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ระบุว่าพวกเขาจะซื้ออาหารโปรตีนจากพืชมากขึ้นหากสินค้ามีราคาถูกลง นอกจากนี้ 29% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดจะซื้อผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชมากขึ้นหากตัวเลือกมีความหลากหลายมากขึ้น
แรงจูงใจของผู้บริโภคในการรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์
แรงจูงใจในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติที่มากขึ้นของผู้บริโภคเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ ดังนี้
ผู้บริโภคชาวเยอรมัน 62% ให้ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ
ผู้บริโภคชาวเยอรมัน 52% ให้ความสําคัญต่อสวัสดิภาพสัตว์
ผู้บริโภคชาวเยอรมัน 51% ต้องการมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ ผู้บริโภคที่ในช่วงอายุน้อยส่วนใหญ่ระบุว่าแรงจูงในในการบริโภคสินค้ามังสวิรัติมาจากเรื่องสวัติภาพสัตว์อย่างไรก็ตามจากสภาวะเศรษกิจที่ถดถอยในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคมีความอ่อนไวในเรื่องราคามากขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับรสชาติ สารอาหารยังคงเป็นอุปสรรคต่อการบริโภคอาหารมังสวิรัติ
ที่มา :
VeganNews
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)