หากกล่าวถึงช็อกโกแลตยี่ห้อ Choviva ใน 1 แท่ง จะมีส่วนผสมของโกโก้ 0% ในขณะที่ช็อกโกแลตยี่ห้ออื่น ๆ ที่วางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่มีส่วนผสมของโกโก้อยู่ระหว่าง 30-70% โดยในบางยี่ห้ออาจมีส่วนผสมของโกโก้สูงถึง 100% ก็มี สำหรับช็อกโกแลตยี่ห้อ Choviva ของบริษัท Planet A Foods แล้วนั้น บริษัทนี้ถือเป็น Start up จากกรุงเบอร์ลิน โดยในช็อกโกแลต 1 แท่ง ไม่มีส่วนผสมของโกโก้เลยและหากดูด้วยตาในครั้งแรกจะไม่เหมือนช็อคโกแลตเลย แต่บริษัทก็มีแผนที่จะนำสินค้าดังกล่าวเปิดตัวและบุกตลาด ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะประหยัดค่าการสร้าง CO2 ให้ได้ 500 ล้านตันต่อปี และเมื่อเทียบกับการผลิตช็อกโกแลตทั่วไป กรรมวิธีการผลิตของบริษัทฯ จะไม่ต้องการสวนโกโก้เลย และส่วนผสมทั้งสิ้นก็ผลิตในเยอรมนีทั้งหมด จริง ๆ แล้วช็อกโกแลตยี่ห้อ Choviva ประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ต น้ำตาลบีท และเมล็ดทานตะวัน โดยส่วนผสมหลัก โดยนำมาผ่านการแปรรูปและเพิ่มเติมด้วยกลิ่นช็อคโกแลตเข้าไป ซึ่งจากข้อมูลของบริษัทฯ ปรากฏว่า กรรมวิธีการผลิตช็อกโกแลตดังกล่าวสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) ต่ำกว่าการผลิตช็อกโกแลตโดยทั่วไปถึง 90% จึงทำให้บริษัท Planet A Foods กล้าที่จะเข้ามาแข่งขันในตลาดขนาดใหญ่ และจากการวิจัยของบริษัท Allied Market ทำให้ทราบว่า ในปี 2022 มูลค่าตลาดช็อกโกแลตที่ไม่ใช่โกโก้ทั่วโลกอยู่ที่ 585.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นักวิจัยตลาดคาดการณ์กันว่า มูลค่าตลาดในปี 2023 จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และบริษัท Start Up รายนี้ ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็น ผู้จัดหา “ช็อกโกแลต” ให้กับบริษัทในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าบริโภค อย่างเช่นนำมาใช้ผลิต คุกกี้ หรือ ส่วนผสมของมูสลี่ (Müsli – เป็นอาหารเช้าและอาหารที่เป็นทั้งอาหารเช้าและอาหารเที่ยง ซึ่งประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ตชนิดเกล็ด และส่วนประกอบอื่น ๆ รวมไปถึงธัญพืช ผลไม้สดและแห้ง เมล็ดพันธุ์และถั่ว) ต่อไป
บริษัท Planet A Foods ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2021 โดยสองพี่น้อง คือ นาย Maximilian Marquart วิศวกร และนาง Sara Marquart นักวิจัยด้านรสชาติอาหาร ซึ่งนาย Maximilian ได้แนวคิดในการก่อตั้งบริษัทฯ มาจากหนังสือเรื่อง การสูญพันธุ์ของต้นโกโก้ โดยปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ต้นโกโก้จำนวนมากทั่วโลกเสียหายและตายลง กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา การผลิตโกโก้ทั่วโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะผลิตสินค้าทางเลือกอื่นเพื่อนำมาทดแทนเนยโกโก้และผงโกโก้ บริษัท Planet A Foods อาศัยการหมัก การคั่วข้าวโอ๊ต และเมล็ดทานตะวัน เพื่อสร้างวัตถุดิบทดแทนดังกล่าวขึ้น ในขั้นตอนถัดไปก็จะทำให้เกิดสาร Choviva เข้มข้น และเนย Choviva ขึ้น ซึ่งทั้ง 2 สินค้า มีรสและกลิ่นคล้ายคลึงกับผงโกโก้ทั่วไป หลังจากนั้นสารเข้มข้นจะถูกนำไปบดและผสมกับวัตถุดิบอื่น ๆ ผ่านการบดและรีด จนได้ Choviva แบบเหลว นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้งบริษัททั้ง 2 ยังต้องการที่จะหาวัตถุดิบอื่น ๆ มาทดแทนวัตถุดิบเก่าที่อยู่ในโกโก้อย่างเช่น น้ำมันปาล์ม อีกด้วย นาย Maximilian Marquart กล่าว “เราต้องการเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอาหาร”
จากข้อมูลพบว่า โดยเฉลี่ยมีการเก็บเกี่ยวโกโก้ทั่วโลก 4 – 5 ล้านตันต่อปีโดยประมาณ โดยการปลูกโกโก้ในบางที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนั้น ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ดินเสื่อมโทรม และเพิ่มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั่วโลกขึ้น นอกจากนี้ ในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่กำลังการผลิตโกโก้ทั่วโลกจะลดลง เนื่องจากประเทศที่ปลูกโกโก้ส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้งหรือบางทีก็เจอฝนตกมากเกินไป ในเวลานี้โกโก้ส่วนใหญ่มาจากประเทศไอวอรี่โคสต์ กานา เอกวาดอร์ และ บราซิล ศูนย์วิจัยศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (Ciat – International Center for Tropical Agriculture) คาดการณ์ว่า ในอนาคตโลกจะประสบปัญหาขาดแคลนโกโก้มากขึ้น นาย Marquart เชื่อมั่นว่า “ลองจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากโกโก้สิครับ แล้วคุณจะเห็นได้ว่า นวัตกรรมของเรามีความสำคัญขนาดไหน” บริษัท Planet A Foods ไม่เพียงแต่ต้องการที่หาวัตถุดิบมาทดแทนโกโก้เท่านั้น แต่ยังต้องการหาวัตถุดิบมาทดแทนน้ำมันปาล์มอีกด้วย ในเวลานี้น้ำมันปาล์มถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบใน ขนม และอาหารหลายชนิด รวมถึงใน ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และเสริมความงาม อีกด้วย การสกัดเพื่อให้ได้มายังน้ำมันปาล์มนั้นสร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล การถางป่าจำนวนมหาศาลเพื่อปลูกต้นปาล์มนั้น ลดความหลากหลายของพืช และสัตว์ ในท้องถิ่นลง นอกจากนี้การเผาป่าเพื่อให้ได้พื้นที่เพราะปลูกต้นปาล์มนั้น ยังก่อให้เกิด มลพิษในอากาศ และเพิ่มการปล่อย CO2 อีกด้วย
จาก Handelsblatt 8 มกราคม 2567
อ่านข่าวฉบับเต็ม : ข้าวโอ๊ตกลายเป็นช็อกโกแลตได้อย่างไร