ที่มาภาพ: https://www.wearebn.com/zh/archives/1773
จากการศึกษาการพัฒนาบริษัทจีนในต่างประเทศ ระหว่างปี 2566-2567 บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นกำลังหลักในการดำเนินการขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศ และรูปแบบของบริษัทจีนในต่างประเทศกำลังมีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของจีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ของการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยกลยุทธ์ “One Belt, One Road” และ “วัฏจักรคู่ (Dual Circulation Strategy)” บริษัทจีนที่ออกไปต่างประเทศกำลังได้รับกำไรจากการพัฒนาธุรกิจในหลายสาขา และมีบริษัทต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กำลังตามเทรนด์ “การไปต่างประเทศ” เพื่อขยายโมเดลธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น โดยมีแนวทางประเภทธุรกิจหลัก ๆ อย่างเช่น เกม วิดีโอ อีคอมเมิร์ซ เครื่องใช้ไฟฟ้า บริการ SaaS (Software-as-a-Service) เป็นต้น ตามข้อมูลการสำรวจของ iiMedia Research แสดงให้เห็นว่าร้อยละขององค์กรขนาดใหญ่ 29.5 และร้อยละ 39.4 ขององค์กรขนาดกลางได้ใช้กลยุทธ์การเติบโตในต่างประเทศตามลำดับ และร้อยละ 28.9 ขององค์กรขนาดเล็กมีแผนที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดยแบรนด์องค์กรของจีนส่วนใหญ่ที่ไปต่างประเทศอยู่ในขั้นตอนการนิยามแบรนด์ใหม่และขั้นตอนการโปรโมตแบรนด์ คิดเป็นร้อยละ 44.5 และร้อยละ 25.8 ตามลำดับ
การวิเคราะห์แรงผลักดันในการพัฒนาวิสาหกิจจีนในต่างประเทศ: เศรษฐกิจ
ปัจจุบันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังคงซบเซา การค้าและการลงทุนทั่วโลกชะลอตัว และปัจจัยต่าง ๆ เช่น การกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการค้าต่างประเทศของจีน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจีนมีระบบอุตสาหกรรมและกำลังการผลิตที่ดี เศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีในระยะยาว ข้อมูลแสดงให้เห็นว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมของการค้าของจีนสูงถึง 42.07 ล้านล้านหยวนในปี 2565 และจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องของฐานที่สูงในปี 2564 แม้จะเผชิญกับแรงกดดันจากอุปสงค์ทั่วโลกที่ลดลง อุปทานที่เพิ่มขึ้น และความคาดหวังที่ลดลง แต่การนำเข้าและส่งออกการค้าต่างประเทศของจีนยังคงแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นที่แข็งแกร่ง ช่วยให้การค้าต่างประเทศของจีนบรรลุความก้าวหน้าครั้งใหม่ และเพิ่มความเชื่อมั่นขององค์กรต่างๆ ในการไปต่างประเทศ
ที่มาภาพ: https://www.iimedia.cn/c1020/95721.html
การวิเคราะห์โครงสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรมของบริษัทจีนที่ไปต่างประเทศ
เมื่อกระแสโลกาภิวัตน์ขององค์กรกลายเป็นกระแสการพัฒนาในยุคนั้น การไปต่างประเทศจึงกลายเป็น “สิ่งที่ต้องทำ” ศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาและการผลิตที่ยกระดับอย่างต่อเนื่องของจีนได้ผลักดันให้บริษัทจีนขยายธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก ค่อย ๆ ขยายจากอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมไปสู่เทคโนโลยีขั้นสูง อินเทอร์เน็ต อีคอมเมิร์ซ และสาขาอื่น ๆ และเริ่มมีส่วนร่วมในสาขาใหม่ ๆ เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big data
ที่มาภาพ: https://www.iimedia.cn/c1020/95721.html
เมื่อองค์กรต่าง ๆ เข้าสู่ขั้นตอนของการพัฒนาไปต่างประเทศ การพัฒนาสาขาที่เกี่ยวข้องค่อย ๆ อิ่มตัว องค์กรต่าง ๆ พยายามมองหาช่องทางใหม่ ๆ และบริษัทจีนยังคงพัฒนา “อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (跨境电商: cross-border e-commerce (CBEC)) + แถบอุตสาหกรรม (产业带: industrial belt)” อย่างต่อเนื่อง โดยอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเป็นจุดเติบโตใหม่สำหรับการค้าต่างประเทศของจีน ในอนาคต ด้วยการรวมเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค เกมบนมือถือ และอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน จะช่วยอัดฉีดแรงผลักดันใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ของธึรกิจต่าง ๆ ไปต่างประเทศต่อไป
ข้อคิดเห็นของสคต.เซี่ยงไฮ้
ในปัจจุบันธุรกิจของจีนนิยมขยายฐานการตลาดไปยังประเทศอื่น ๆ เพื่อขยายกลุ่มลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางรายได้ ซึ่งธุรกิจส่วนใหญ่ที่นิยมออกไปตีตลาดนอกประเทศจะเป็นธุรกิจประเภทเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตทั่วโลกสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจของไทยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือให้บริการด้านเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตที่จะเสนอความร่วมมือด้านการลงทุน วัตถุดิบ ผลิต บริการ หรือด้านห่วงโซ่อุปทานให้แก่ธุรกิจของจีนที่ต้องการขยายขนาดของธุรกิจของตนในต่างประเทศได้ ซึ่งรวมถึงธุรกิจของจีนที่สนใจลงทุนในประเทศไทยที่กำลังมองหาธุรกิจของไทยเข้ามาร่วมลงทุนและขยายการตลาดในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
________________________________________________________________________________
จัดทำโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้
วันที่ 8 กันยายน 2566
แหล่งที่มา
https://www.iimedia.cn/c1020/95721.html
ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)