หน้าแรกTrade insightการค้าระหว่างประเทศ > การลงทุนจากต่างประเทศของมาเลเซียพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2565

การลงทุนจากต่างประเทศของมาเลเซียพุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2565

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในประเทศมาเลเซียมีจำนวนสูงถึง 74,600 ล้านริงกิต
ในปี 2565 เทียบกับ 50,400 ล้านริงกิตในปีก่อน (2564) ตามรายงานของกรมสถิติ สถิติดังกล่าวแสดงถึง
การหลั่งไหลเข้าของ FDI ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2564 หลังจากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (DIA) จากมาเลเซียมีมูลค่า 58,600 ล้านริงกิตในปี 2565 ซึ่งนับเป็น DIA ที่สูงที่สุด
เป็นประวัติการณ์ตั้งแต่ปี 2557 และเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2564 อยู่ที่ 19,400 ล้านริงกิต

 

อัตราการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศมาเลเซียอยู่ที่ 879,100 ล้านริงกิตภายในสิ้นปี 2022 ซึ่งบ่งชี้ถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเชิงบวกที่ประเทศมาเลเซียสามารถดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศ ในทํานองเดียวกัน บริษัทสัญชาติมาเลเซียก็ได้ขยายและกระจายกิจกรรมทางธุรกิจในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

 

ภาคการผลิตมีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ โดยมีเม็ดเงินเข้าสุทธิ 49,500 ล้านริงกิต โดยส่วนใหญ่ภาคการผลิตขับเคลื่อนโดยผลิตภัณฑ์จำพวกไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง และภาคการผลิตย่อยอื่นๆ อีกทั้ง ภาคบริการเป็นสนับสนุนการเติบโตเป็นอันดับที่สอง โดยเฉพาะในกิจกรรมทางการเงิน รองลงมาคือภาคเหมืองแร่ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับหุ้นทุนและกองทุนเพื่อการลงทุน

 

ด้านของการกระจายของ FDI ในระดับภูมิภาค ภูมิภาคอเมริกาแซงหน้าเอเชียในฐานะผู้รับสูงสุด โดยมีเม็ดเงินเข้าสุทธิ 42,600 ล้านริงกิต ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา ภูมิภาคเอเชียยังคงเป็นแหล่งของ FDI
ที่สำคัญและโดดเด่น รองลงมาคือยุโรปและอเมริกา ภาคบริการได้รับส่วนแบ่งที่ใหญ่ที่สุดของ FDI คิดเป็นร้อยละ 48.8 หรือ 429,100 ล้านริงกิตโดยได้รับแรงหนุนจากกิจกรรมทางการเงินและการค้าส่ง ภาคการผลิตคิดเป็นร้อยละ 43.5 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคไฟฟ้าอุปกรณ์การขนส่งและภาคการผลิตย่อยอื่น ๆ

 

ด้าน DIA ภาคบริการยังคงเป็นภาคหลักโดยคิดเป็นร้อยละ 72.2 ของการลงทุนทั้งหมด โดยเฉพาะในกิจกรรมทางการเงินภาคเหมืองแร่มีส่วนร้อยละ 12.5  และภาคการผลิตมีส่วนร้อยละ 10.2 โดยในแง่ของกระแส DIA ภูมิภาคเอเชียแซงหน้ายุโรปในปี 2022 ด้วยอัตรามูลค่า 23,500 ล้านริงกิต นอกจากนี้ ทวีปยุโรปตามมาด้วยอัตรามูลค่า 21,000 พันล้านริงกิตและ อเมริกาด้วยอัตรามูลค่า 12,000 ล้านริงกิต จุดหมายปลายทางสามอันดับแรกของ DIA จากประเทศมาเลเซีย ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเนเธอร์แลนด์

 

หลังจากการระบาดของ COVID-19 บรรเทาลง และเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวทั้งนักลงทุน FDI และ DIA ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนสูงขึ้น ในปี 2565 อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของบริษัท FDI ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 0.12 ริงกิต จาก 0.13 ริงกิตในปี 2564 สำหรับทุกๆ 1.00 ริงกิตของการลงทุน โดยภาคบริการสามารถสร้างรายได้สูงสุด ในทางกลับกัน บริษัทสัญชาติมาเลเซียได้รับผลตอบแทน 0.08 ริงกิต สำหรับทุก ๆ การลงทุน 1.00 ริงกิตที่ลงทุนในต่างประเทศ โดยมีภาคการผลิตเป็นปัจจัยสูงสุดของการลงทุนในต่างประเทศ

 

 

ความคิดเห็นของ สคต.

ประเทศมาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซียเป็นหนึ่งในตลาดเกิดใหม่ชั้นนำสำหรับการลงทุนและได้รับการยอมรับในด้านการคุ้มครองนักลงทุนรวมถึงการตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจ ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภาคการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ประสิทธิภาพการผลิตและการควบคุมต้นทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถส่งมอบผลลัพธ์ที่แท้จริงให้กับธุรกิจ นอกจากนั้น ภาคการบริการของมาเลเซียยังรวมเอาแนวทางแบบสหวิทยาการคือการผสมผสานเข้ากับความรู้เชิงลึกในภาคปฏิบัติหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรับมือกับความท้าทายและปัญหาต่างๆ อย่างไรก็ตาม มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องหากบริษัทต่างชาติต้องการย้ายธุรกิจมายังประเทศมาเลเซีย อาทิ ความเสี่ยงในการย้ายถิ่นฐาน และอัตราภาษี ดังนั้น จึงควรหาข้อเสนอผลได้ในระยะยาวเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าประเทศมาเลเซียเป็นแหล่งที่น่าดึงดูดใจในการลงทุนอย่างแท้จริง

 

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login