หน้าแรกTrade insight > การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น

สถานการณ์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเริ่มไปในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (ONS) ในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นว่ายอดการค้าปลีกของสหราชอาณาจักรฟื้นตัวขึ้น อัตราการเติบโตของแต่ละเดือน (MoM) ยอดการค้าปลีกเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.4 การฟื้นตัวนี้มีสาเหตุหลักมาจากยอดขายอาหารและเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้บริโภคยังคงเต็มใจที่จะใช้จ่ายแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในสถานการณ์เงินเฟ้อ

สหราชอาณาจักรยังคงมีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 6.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งถือว่าลดลงจากจากจุดสูงสุดที่มากกว่าร้อยละ 11 ในเดือนตุลาคมปี 2022 อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อนี้ก็ยังคงสูงที่สุดหากเทียบกันในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว อัตราเงินเฟ้อที่สูงนี้โดยเปรียบเทียบแล้วผู้บริโภคหากมีเงินจำนวน 100 ปอนด์เท่ากัน ในสภาวะเงินเฟ้อที่สูงกว่า จะสามารถซื้อสินค้าได้น้อยกว่า กล่าวคือ อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเผชิญกับความท้าทายในการรักษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของตน

ถึงแม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ตลาดจากบริษัทวิจัยการตลาด GfK ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายนว่าอยู่ในระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2022 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องของธนาคารกลางในสหราชอาณาจักรอาจยังไม่ส่งผลในทันที แต่ผู้บริโภคจะเริ่มได้รับผลกระทบในช่วงปลายปี 2023

ทั้งนี้ ล่าสุด IMF ได้ออกรายงานการเติบโตทางธุรกิจของโดยทำนายว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะเติบโตช้าที่สุดในกลุ่ม G7 คือ 0.6% และมีการคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 เพื่อรักษาสถานการณ์เงินเฟ้อ

ที่มา: Reuters/Sky News

ข้อมูลเพิ่มเติม/ความเห็น สคต.

สหราชอาณาจักรยังคงประสบภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาทิ อัตราดอกเบี้ยซื้อบ้าน หรืออัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงิน ส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มสูงขึ้น และผู้คนได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าที่เปลี่ยนไปโดยการเลือกใช้จ่ายสินค้าโดยพิจารณาองค์ประกอบอื่นนอกเหนือจากความคุ้นเคยในตราสินค้า โดยมีการเปรียบเทียบคุณภาพ ปริมาณ และราคามากขึ้น ทั้งนี้ สินค้าไทยยังคงมีโอกาสในการนำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพที่เหมาะสมกับราคา และยังมีโอกาสในการเข้าตลาดมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login