หน้าแรกTrade insight > การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจีน

การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจีน

1.สถานการณ์ภาพรวม

ข้อมูลในปี 2565 ประเทศจีนมีการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์รวมมูลค่าทั้งสิ้น 30,070 ล้านหยวน ส่วนในปี 2566 นี้ มูลค่ายอดจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์จนถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2566 พบว่า มีมูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านหยวน คาดว่าตลอดทั้งปีจะมียอดจำหน่ายสูงถึง 47,100 ล้านหยวน  นักวิเคราะห์ของ iiMedia Consulting มองว่า ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค     โควิด-19  ทำให้จีนมีการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนต์ที่ชะลอตัว และมีแนวโน้มการเติบโตที่ช้า แต่ในปี 2566 อุตสาหกรรมภาพยนต์ของจีนมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งใน

ที่มา : report.iimedia.cn

ในด้านอัตราการเข้าชมภาพยนตร์จีนโดยเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 จนในวันที่   6 ตุลาคม 2566 จีนมีอัตราการเข้าชมภาพยนต์จีนอยู่ที่ร้อยละ 9.2 โดยขณะนี้มีโรงภาพยนตร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่เกิดความไม่สอดคล้องกับระหว่างจำนวนโรงภาพยนตร์และจำนวนผู้เข้าชมที่ลดลง แสดงให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ในจีนยังคงเผชิญกับความท้าทาย อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2566 นี้จีนมีการเพิ่มภาพยนต์ในรูปแบบเกี่ยวกับสงครามและภาพยนต์บันเทิง ทำให้อัตราการเข้าชมภาพยนต์จีนเพิ่มขึ้นมาในระดับหนึ่ง

ที่มา : report.iimedia.cn

  1. หัวข้อภาพยนตร์จีน

ในปี 2565 ประเทศจีนมีภาพยนตร์เข้าฉายทั้งหมด 326 เรื่อง และทำรายได้ทะลุ 30,067 ล้านหยวน ตามเนื้อหากภาพยนตร์ โดยเนื้อหาดราม่ามีส่วนทำรายได้มากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 48 ของภาพยนตร์ทั้งหมด รองมาลงคือภาพยนตร์ตลก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31 ภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 และภาพยนตร์แอ็คชั่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22 ทั้งนี้ ในปี 2565 เป็นปีแห่งการประชุมสภาแห่งชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 อุตสาหกรรมภาพยนตร์มุ่งมั่นที่จะเปิดตัวภาพยนตร์ เรื่อง “The Battle at Lake Changjin II” ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากภาคก่อนหน้านี้ รวมถึงการดัดแปลงภาพยนตร์เรื่อง “A Long Journey Home” จากเหตุการณ์จริง

ที่มา : report.iimedia.cn

3. ปัจจัยในการรับชมภาพยนตร์

  • ในช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนมีจำนวนผู้เข้าชมมากที่สุด โดยมียอดจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์อยู่ที่ 20,600 ล้านหยวน ภาพยนตร์สะท้อนสังคมของจีนที่เป็นที่นิยม ได้แก่ “a long shot gamble” และ She disappeared”
  • ภาพยนตร์จีนที่แสดงถึงวัฒนธรรม เช่น “30000 miles in Chang’an” และ “Creation of The Gods I” ซึ่งมีส่วนสร้างการรับรู้ด้านวัฒนธรรมและการเผยแพร่วัฒนธรรมในยุคสมัยก่อน ตอบสนองความต้องการชมภาพยนตร์ของคนในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
  • คนจีนนิยมเลือกรับชมภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ และปัจจัยด้านดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงก็เป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาเลือกรับชม

4.ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์

5.ช่องทางการจำหน่ายตั๋วภาพยนตร์

ปัจจุบันชาวจีนนิยมซื้อตั๋วภาพยนตร์จากอินเตอร์เน็ต โดยมีแพลตฟอร์มหรือ APP ต่าง ๆ เช่น App Taopiao ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้งานจะเป็นเพศหญิง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.74 App Maoyan ผู้ใช้งานจะเป็นผู้ชาย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.70 App Maoyan ได้รับการสนับสนุนภายใต้บริษัท Tencent มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ในขณะที่ App Taotiao จะอยู่ภายใต้บริษัท Alibaba ซึ่งทั้งสองแพลตฟอร์มก็มีข้อได้เปรียบที่แตกต่างกันไป

ที่มา : report.iimedia.cn

  1. แพลตฟอร์มภาพยนตร์ออนไลน์

ความคิดเห็น สคต.

ปัจจุบันอุตสาหกรรมบันเทิงโดยเฉพาะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศจีนมีการพัฒนา      อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีภาพยนตร์หลากหลายแนวให้เลือกชม และได้มีการพัฒนาเนื้อเรื่อง คุณภาพนักแสดงและโปรดักชันที่เท่าระดับสากล บวกกับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีการเผยแพร่คอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ ทำให้ธุรกิจภาพยนตร์ของจีนได้รับความสนใจอย่างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หันมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์จีน จนชื่อเสียงศิลปินและผลงานภาพยนตร์ของจีนได้กลายเป็นที่รู้จักและมีฐานแฟนคลับกระจายไปทั่วโลก ซึ่งจะเป็น Soft Power ที่สามารถกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกันภาพยนตร์ของไทยก็ได้ก้าวสู่ความสำเร็จไปอีกขั้น และได้รับการตอบรับเป็น   อย่างดีจากผู้ชมชาวจีน เช่น เรื่องฉลาดเกมส์โกง และรักแห่งสยาม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาภาพยนตร์ วัฒนธรรมไทยที่ถ่ายทอดบนภาพยนตร์ หรือดารานักแสดงที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มชาวจีนสามารถสร้างให้เป็นกระแส Soft Power ที่จะสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การบุกเจาะตลาดภาพยนตร์ในประเทศจีนนอกจากจะสามารถทำความร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ของจีนแล้วนั้น ยังสามารถทำความร่วมมือกับแพลตฟอร์มให้บริการชมภาพยนตร์ทางออนไลน์ได้อีกด้วย เช่น แพลตฟอร์ม Aiqiyi, Youku และ Tencent เป็นต้น ซึ่งแพลตฟอร์มเหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มชาวจีนที่ชื่นชอบภาพยนตร์ เนื่องจากมีความสะดวกในการรับชม และสามารถชมได้ทั้งภาพยนตร์เก่าและใหม่

อย่างไรก็ตาม การทำธุรกิจภาพยนตร์ร่วมกับจีนมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาตลาด กฎระเบียบ และการเซ็นเซอร์เนื้อหาภาพยนตร์อย่างเข้มงวด เนื่องจากจีนมีการกำหนดเนื้อหาต้องห้ามที่ไม่สามารถเปิดเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับการรักร่วมเพศ ภาพยนตร์ผี ภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นต้น

แหล่งที่มา : http://k.sina.com.cn/article_1850460750_6e4bca44001010w2s.html

 สคต. คุนหมิง

 

อ่านข่าวฉบับเต็ม : การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในจีน

Login