คงไม่ใช่เรื่องน่ายินดีนักที่เยอรมนีจะถูกกลับขนานนามว่า “ผู้ป่วยแห่งยุโรป” อีกครั้ง โดยเรื่องที่คนเยอรมันพากันถกเถียงในเวลานี้มากที่สุดเห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องของการปฏิรูปต่าง ๆ ในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องค่าไฟสำหรับภาคอุตสาหกรรม และสนธิสัญญาเยอรมนี ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อนที่ชัดเจนว่า เยอรมนีกำลังประสบปัญหารุมเร้ารอบด้าน จนต้องแก้ไขปัญหาให้กับตัวเองก่อน สำหรับในสายตาชาวโลกแล้ว เยอรมนีถือเป็นคนที่ชอบสร้างปัญหาให้กลับตัวเอง แล้วเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็เอาแต่นั่งโอดครวญ และแสดงความเจ็บปวดให้ชาวบ้านได้เห็น แทนที่จะหาทางแก้ปัญหา ในขณะที่เรื่องสำคัญอื่นๆ อาทิ นโยบายด้านพลังงาน นโยบายด้านอุตสาหกรรม นโยบายด้านการส่งออก รวมไปถึงการลดความซับซ้อนของระบบราชการที่ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่เยอรมนีจะปรับตัวให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ใน EU ให้มากขึ้น นอกจากเยอรมนีจะต้องทำตามนโยบายข้างต้นแล้ว เยอรมนีก็ต้องขยายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ไปพร้อม ๆ กันด้วย จึงทำให้เยอรมนีเริ่มหันมาสนใจที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรปให้มากขึ้นกว่าเดิม
อย่างเรื่องพลังงานสีเขียวในราคาประหยัดหรือราคาที่จับต้องได้นั้น การที่จะทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมได้นั้นก็ต้องได้รับความร่วมมือในระดับ EU และแทบไม่มีนโยบายระดับประเทศใดเลยที่จะห้ามไม่ให้เยอรมนีนำเข้าพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น โดยพลังงานที่สะอาดเหล่านี้สามารถผลิตได้ในหลาย ๆ พื้นที่ใน EU ในเวลาเดียวกันข้อดีการนำเข้าพลังงานสีเขียวนี้ ก็ช่วยลดความผันผวนในการผลิตพลังงานหมุนเวียนของประเทศอีกด้วย ที่ผ่านมาเยอรมนีค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเคลื่อนย้ายพลังงานสีเขียวจากสเปนมายังเยอรมนี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังขาดแคลนเครือข่ายสายไฟฟ้า ระบบดิจิตอล และการออกแบบตลาดพลังงาน เพื่อรองรับความต้องการมหาศาลในประเทเยอรมนี แน่นอนคณะกรรมาธิการ EU มองเห็นปัญหาดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงวางแผนที่จะลงทุนสูงถึง 585 พันล้านยูโร ภายในปี 2030 ในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งแน่นอนว่าถ้าแผนการณ์นี้สำเร็จ ก็จะทำให้การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของเยอรมนีจึงผูกพันอยู่กับการสืบทอด (Transmission) ด้านต่าง ๆ ของ EU มากขึ้นไปอีก
เรื่องนโยบายอุตสาหกรรมของเยอรมนี ก็ยังคงผูกพันกับ EU ค่อนข้างมาก แม้ว่าคนจำนวนหนึ่งจะออกมากล่าวว่า กฎหมาย EU ด้านการช่วยเหลือของรัฐ (State aid European Union) นับเป็นตัวถ่วงสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การปรับนโยบายอุตสาหกรรมใน EU เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับเยอรมนีมากกว่าการจะตีตัวออกห่าง ยกตัวอย่างง่าย ๆ เหตุการณ์ล่าสุดที่มีการออกข่าวกันอย่างครึกโครมเรื่อง การตั้งโรงงานชิปของบริษัท Intel ในเมือง Magdeburg ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีบางกลุ่มที่ได้ออกมาโจมตีรัฐบาลเยอรมันว่า ให้เงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลแก่บริษัท Intel จนเกินความจำเป็น ซึ่งแน่นอนการตั้งโรงงานใหม่นี้เป็นเรื่องที่ดีสำหรับภูมิภาคดังกล่าว แต่สิ่งที่ข่าวไม่ได้กล่าวถึงอย่างจริงจังก็คือ นอกจาก Intel จะตั้งโรงงานในเมือง Magdeburg แล้ว Intel ยังจะไปตั้งโรงงานในเมือง Breslau ของโปแลนด์ด้วย ซึ่งแน่นอนว่า Intel ก็ได้รับเงินสนับสนุนจำนวนมหาศาลจากรัฐบาลโปแลนด์เช่นกัน และในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้ง 2 โรงงาน จะต้องประสานการทำงานกันอย่างเหนี่ยวแน่น นอกจากนี้ Intel มีแผนที่จะตั้งโรงงานในฝรั่งเศส สเปน และอิตาลีอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โรงงานในเยอรมนีจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเยอรมนีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ภายนอกต่างๆ และขึ้นอยู่กับการดำเนินการด้านนโยบายอุตสาหกรรมของ EU อีกด้วย และเพื่อที่เยอรมนีจะสามารถแข็งแกร่งในด้านเทคโนโลยีในอนาคต เยอรมนีจำเป็นต้องมีการกระจายการทำงานไปยังประเทศต่าง ๆ และปรับนโยบายอุตสาหกรรมในทั่วทั้งสหภาพยุโรปไปพร้อม ๆ กัน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับนโยบายอุตสาหกรรมใน EU และ การจัดการด้านการลงทุน ร่วมกันเท่านั้น
จากข้อมูลข้างต้น นโยบายทางการค้าที่จะหาทาง “BOOM” เพียงประเทศเดียว โดยไม่ใส่ใจกับตลาดเดียวยุโรป (European Single Market) ถือเป็นเรื่องที่ผิด เพราะเยอรมนีผูกพันกับ European Single Market มาก โดยในอดีตรากฐานการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมันผูกพันกับความต้องการมหาศาลของจีนและอเมริกาเหนือ แต่ในเวลานี้ทั้ง 2 ภูมิภาค ได้ลงทุนมหาศาลไปกับการผลิตสินค้าในท้องถิ่น แทนที่จะนำเข้าจากเยอรมนี ในเวลาเดียวกันเมื่อมองดูปัญหาภูมิศาสตร์ทางการเมืองที่ตึงเครียดในปัจจุบันแล้ว เยอรมนีเองก็ต้องพึ่งพา EU มากขึ้น เพราะเป็นตลาดรองรับสินค้าและรากฐานที่มั่นคงด้านนโยบายทางการค้า สำหรับนโยบายทางการค้าของเยอรมนีด้าน “Reshoring” จะเกิดขึ้นได้ผ่าน European Single Market เท่านั้น และในเวลาเดียวกันเยอรมนีก็ต้องการปีกที่เข้มแข็งของ EU ในการป้องกัน และตอบสนองนโยบายการค้าที่ดุดันของจีนอีกด้วย เยอรมนีต้องพึ่ง EU ในการยื่นข้อเสนอที่น่าสนใจแก่ประเทศอื่นๆ ในการแข่งขันจัดหาแหล่งวัตถุดิบใหม่ ๆ ระดับโลกได้
นโยบายเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่ผิดที่จะมัวแต่สนับสนุนเอกชนเพียงอย่างเดียว แต่เยอรมนีจำเป็นต้องเร่งสร้าง/เตรียมพื้นที่ที่เหมาะสมให้นวัตกรรมสามารถเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ ปัจจุบัน EU ขยันที่จะออกกฎระเบียบด้านการค้าใหม่ ๆ ขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นจะเป็นที่เรื่องผิดพลาดมากหากเยอรมนีจะไม่สนใจและตีตัวออกห่าง EU ยกตัวเย่างเช่น โยบาย Green Deal หรือการปรับโครงสร้างเข้าสู่ระบบดิจิตอลของ EU นั้นได้ถูกส่งผ่าน EU อย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า นโยบายเหล่านี้จะลดระบบราชการลงโดยอัตโนมัติ จึงเป็นหน้าที่ของเยอรมนีและ EU ที่จะต้องร่วมกันหาทางลดปัญหาระบบราชการลง เพราะนี่เป็นวิธีเดียวที่กฎระเบียบใหม่ ๆ ของ EU จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจที่แท้จริงได้ และทำให้ EU สามารถกลับมาเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ระดับโลกได้อีกครั้ง อีกทั้งเยอรมนีต้องกล้าที่จะออกมารับผิดชอบมากขึ้นในการกำหนดอนาคตของ EU และพร้อมพัฒนากลยุทธ์เพื่อทำให้ประเทศเยอรมนีและ EU ทันสมัยยิ่งขึ้น ร่วมงานกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะกับประเทศฝรั่งเศส และสถาบันต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป
โดยนาย Johannes Lindner ผู้อำนวยการร่วมของศูนย์ Jacques Delors Center และนาย Nils Redeker รองผู้อำนวยการร่วมของศูนย์ Jacques Delors Centre ประจำมหาวิทยาลัย Hertie School ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา :
Handelsblatt 13 ตุลาคม 2566
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)