หน้าแรกTrade insightเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า > ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในบังกลาเทศต่ำจนน่าตกใจ

ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในบังกลาเทศต่ำจนน่าตกใจ

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงานข้อมูลจากหน่วยงานด้านการวางนโยบายของบังกลาเทศ (Center for Policy Dialogue (CPD)) ซึ่งบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในบังกลาเทศจัดสรรงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อคนงานน้อยกว่า Tk 500 ต่อปี (ประมาณ 164 บาท) และตามข้อมูลจากคณะกรรมการด้านการวางแผน ธนาคารโลก ชี้ว่า ในช่วงปี 2565-69 บังกลาเทศมีการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 0.03 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่ประเทศเวียดนามอยู่ที่ร้อยละ 0.54 อินเดียร้อยละ 0.70 และจีนร้อยละ 2.55

“ในบังกลาเทศ การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาต่ำจนน่าตกใจ” CPD กล่าวในรายงานผลการศึกษา

อย่างไรก็ตาม มีอุตสาหกรรมผลิตยาและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยามีการจัดสรรค่าใช้จ่ายมากที่สุดในบรรดาอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยมีค่าใช้จ่ายต่อพนักงาน 1 คนต่อปี อยู่ที่ 23,745 ตากา (ประมาณ 7,795 บาท)

การจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัยและพัฒนา ในภาคการขนส่งอยู่ที่ประมาณ 2,001 ตากา (ประมาณ 657 บาท) ต่อคนต่อปี อุตสาหกรรมการผลิตยาสูบอยู่ที่ประมาณ 1,858 ตากา (ประมาณ 610 บาท) ต่อคนต่อปี อุตสาหกรรมกระดาษอยู่ที่ 1,627 ตากา (ประมาณ 543 บาท) ต่อคนต่อปี และภาคการผลิตสิ่งทออยู่ที่ 436 ตากา (ประมาณ 143 บาท) ต่อคนต่อปี

โดยรวมบังกลาเทศมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาในภาคการบริการร้อยละ 5 ในภาคการผลิต เช่น อาหาร การวิจัยสิ่งทอ และภาคการผลิตอื่นๆ เพียงร้อยละ 3 การวิจัยและพัฒนาสำหรับเสื้อผ้าซึ่งเป็นจุดแข็งที่สุดของบังกลาเทศกลับมีค่าใช้จ่ายเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น และในภาคการปลีกบังกลาเทศไม่มีการงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาเลย

ภาคการผลิตบางส่วน เช่น การรีไซเคิล การผลิตเครื่องดื่ม การแปรรูปไม้ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ การซ่อมแซมและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ไม่มีการจัดสรรงบประมาณใดๆ เพื่อการวิจัยและพัฒนาเลย

เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดบริษัท พบว่าบริษัทขนาดกลางมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา เพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ บริษัทขนาดใหญ่จัดสรรงบประมาณร้อยละ 5 บริษัทขนาดเล็กร้อยละ 2 เท่านั้น

CPD เน้นว่าภาคการผลิตส่วนใหญ่ในบังกลาเทศ มุ่งเน้นไปที่การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำ และเทคโนโลยีส่วนนี้ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศ

“ในแง่ของความสามารถในการแข่งขัน บังกลาเทศยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ อยู่มาก” ฟาห์มิดา คาตุน (Fahmida Khatun) กรรมการบริหารของ CPD กล่าว

“ผลิตภาพต่อคนในบังกลาเทศ ต่ำกว่าคู่แข่งของเรา”

เธอกล่าวว่าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในภาคอุตสาหกรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ

“หากเราไม่มรการวิจัยและพัฒนา เราก็จะไม้ก้าวทันกับเทคโนโลยีต่างๆ ในโลกน มีการพูดคุยกันมากมายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ แต่ก็ไม่ได้ปรับปรุงตามที่คาดไว้ ความต้องการแรงงานที่มีทักษะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเทศ โดยเฉพาะหลังจากการหลุดพ้นจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในปี 2569”

Zaki Uz Zaman ตัวแทนประเทศจากองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ สะท้อนถึงการวิเคราะห์ของ CPD และกล่าวว่าสิ่งนี้สะท้อนถึงตำแหน่งของประเทศในการจัดอันดับโลกด้วย

บังกลาเทศอยู่ในอันดับที่ 102 จาก 132 ประเทศใน Global Innovation Index 2022 ในขณะที่อินเดียอยู่ในอันดับที่ 40 เวียดนามอันดับที่ 48 และไทยอันดับที่ 43

“บังกลาเทศยังตามหลังศรีลังกาด้วยซ้ำ” เขากล่าว

Zaman กล่าวว่าการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคการผลิตยังขาดแคลน

อย่างไรก็ตาม เขาให้เครดิตภาคเกษตรกรรมสำหรับการวิจัยและพัฒนาที่สูงขึ้น ซึ่งทำให้ประเทศเกือบจะสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการผลิตอาหาร

Syed Yusuf Saadat นักวิจัยของ CPD ได้สรุปและเสนอประเด็นสำคัญ

การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผลผลิต ผ่านการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรมถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศที่ต้องการรับประกันการเติบโตของการจ้างงานที่มั่นคง สร้างงาน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดส่งออก การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาที่สูงขึ้นยังจะนำไปสู่นวัตกรรมที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้รายได้ต่อหัวสูงของประชากรในประเทศสูงขึ้น  และเน้นว่า บริษัทส่วนใหญ่ในบังกลาเทศ ไม่มีแม้แต่การนำเสนอตัวตนทางดิจิทัล แม้แต่มีเวปไซต์เป็นของตนเองหรือมีแต่ข้อมูลที่ล้าสมัย

จากรายงานการศึกษานี้ พบว่า

  1. นักธุรกิจบังกลาเทศรุ่นใหม่ นิยมออกเดินทางแสวงหาสินค้าจากทั่วโลกมาจำหน่ายในประเทศ เมื่อสินค้าได้รับการยอมรับแล้ว จะหาซื้อเครื่องจักรมาทำการผลิตในประเทศ โดยนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และส่วนหนึ่งนิยมผลิตเป็นสินค้าเลียนแบบ
  2. ผลจากการที่บังกลาเทศขาดการวิจัยและพัฒนา มักจะอาศัยทางลัดในการผลิตสินค้า ทำให้สินค้าจากสายการผลิตออกจำหน่ายในตลาดขาดมาตรฐาน การออกแบบที่ล้าสมัย การใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า มีส่วนผสมที่เป็นสารอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแต่มีราคาถูก โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับอาหารกึ่งสำเร็จรูป สารเคมีที่ใช้ตามบ้าน
  3. สินค้าที่เลียนแบบในบังกลาเทศ ที่เคยพบเห็นจำหน่ายในตลาด เช่น เสื้อผ้า กระดาษพิมพ์เครื่องปรุงรส สินค้าอาหาร เป็นต้น การติดตามตรวจสอบมีความยุ่งยากในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการยื่นฟ้องต่อหน่วยงานยุติธรรม อาจมีการเจรจานอกรอบเพื่อให้ยุติการฟ้องร้อง หรือการขู่กรรโชกผู้ถูกละเมิด เป็นต้น ทำให้ผู้ถูกละเมิดยอมรับสภาพและออกจากตลาดไป
  4. บังกลาเทศยังคงต้องการการพัฒนาด้านเทคโนโลยี พัฒนาการด้านการศึกษา ผลการศึกษาในรายงานนี้จึงชี้ให้เห็นว่า บังกลาเทศยังคงต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการพัฒนาอีกมาก จึงเป็นโอกาสของไทยในการเสนอสินค้าและบริการเกี่ยวกับการศึกษา การออกแบบ การวิจัยและการพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่

ที่มา รายงานข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น https://www.thedailystar.net/

สคต. ณ กรุงธากา
ตุลาคม 2566

ที่มา : กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.)

Login