สมฉายาราชานักไลฟ์ หนุ่มจีนไลฟ์ขาย ทุเรียนไทย วันเดียว 1.6 ล้านลูก สะเทือนทั้งวงการ รายได้รวมประมาณ 1,500 ล้านบาท ทำเอาทุเรียนไทยที่จีนขาดตลาด-ราคาพุ่งสุดๆ

เรียกว่ากำลังกลายเป็นกระแสไวรัลในโซเชียลประเทศจีนอย่างมาก สำหรับกรณี หนุ่มจีนชื่อ ซิน โหย่วจือ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ซินบา (Xinba)” ฉายา “ราชานักไลฟ์” หรือ “ราชานักขาย”

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม “ซินบา (Xinba)” ผู้ก่อตั้ง Xinxuan Group บริษัทอีคอมเมิร์ซชั้นนำด้านการถ่ายทอดสดในประเทศจีน ได้บินลัดฟ้ามาไลฟ์สดขายสินค้าที่ประเทศไทย โดยงัดของดีในไทยขึ้นชื่อมากมาย เช่น ทุเรียน มังคุด ข้าวหอมมะลิ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และผลิตภัณฑ์จากยางพารา ภาพประกอบภาพประกอบจาก inewsweek

หลังจากเปิดไลฟ์สดขายสินค้าไปไม่นาน ยอดขายก็ทะลุ 100 ล้านไปอย่างง่ายดาย โดยยอดขายรวมทั้งหมดเกิน 830 ล้าน และปริมาณการสั่งซื้อรวมเกิน 6.78 ล้านออร์เดอร์ นับว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งจริงๆกับพลังของการซื้อสินค้าผ่านการไลฟ์ถ่ายทอดสดของจีน

สำหรับยอดขาย มังคุดไทย มีคำสั่งซื้อ 1.26 ล้านรายการต่อวินาที และทำยอดขายกว่า 100 ล้านหยวน หรือแปลงเป็นเงินไทยคือ 480 ล้านบาท

ในส่วนของ ทุเรียนหมอนทอง ที่หลายคนตั้งตารอ มียอดสั่งซื้อไปทั้งหมด 1.62 ล้านลูก น้ำหนักรวมกว่า 4,800 ตัน และมียอดขายรวมเกือบ 300 ล้านหยวน หรือเทียบเท่าประมาณ 1,500 ล้านบาท

ภาพประกอบ

ภาพประกอบจาก inewsweek

จนกลายเป็นดราม่าสนั่นติดเทรนด์ร้อนใน Baidu ที่จีน เหล่าพ่อค้า-แม่ค้าทุเรียนคนจีนด้วยกันออกมาโวยแหลก ว่าการไลฟ์สดขายสินค้าของราชานักขาย “ซินบา (Xinba)” เป็นต้นเหตุให้ราคาทุเรียนในจีนพุ่งสูงขึ้น จนผู้ค้ารายย่อยไม่มีทุเรียนจะขาย ทำให้ทุเรียนไทยในจีนขาดตลาด และราคาพุ่งสูง

ที่น่าสนใจคือในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดอีคอมเมิร์ซของจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และ ประเทศไทยถือเป็นประเทศใหญ่ในด้านการเกษตรและการผลิต ทั้งยังเป็นหนึ่งในแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของห่วงโซ่อุปทาน

ประเทศไทยจึงถือเป็นหมุดหมายแรก ในการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศของบริษัท Xinxuan Group

ภาพประกอบ

ภาพประกอบจาก inewsweek

ทั้งนี้ ซิน โหย่วจือ หรือ “ซินบา (Xinba)” ผู้ก่อตั้งบริษัท Xinxuan Group เผยว่าจะนำประสบการณ์และทรัพยากรด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนมาสู่ประเทศไทย และช่วยประเทศไทยฝึกฝนผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล

ซินบายังเสริมอีกว่า จะใช้เศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อช่วยในการเปลี่ยนแปลง และยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ แบ่งปันห่วงโซ่อุตสาหกรรม (Industrial Chain) และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ไปทั่วโลก และร่วมปูทาง “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” เส้นทางการค้าที่สร้างความมั่งคั่ง

ที่มา : inewsweek

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน