หน้าแรกTrade insightข้าว > EU หาทางเป็นอิสระในการพึ่งพิงวัตถุดิบของจีน

EU หาทางเป็นอิสระในการพึ่งพิงวัตถุดิบของจีน

นาย David Bender ผู้อำนวยการของบริษัท Remloy บริษัทในเครือของบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี Heraeus เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้สร้างโรงงานที่มีพื้นที่กว้างขวาง โอ่โถ่ง สะอาดสะอ้าน และใหม่ โดยมีการติดตั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ (สูง 9 เมตร) สีส้มเทา ทำหน้าผลิตสินค้าป้อนให้กับบริษัทฯ โดยโรงงานแห่งนี้อาจเป็นเพียงแห่งเดียวในยุโรปที่ทำหน้าที่หลักเพื่อสร้างอิสรภาพให้ยุโรป จากการจัดหาดินและแร่หายาก ที่ไม่ต้องพึ่งพาจีนอีกต่อไป อย่างไรก็ดี การที่เยอรมนีจะมีอิสระจากจีน (ไม่ต้องพึ่งพา) ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิ (1) การปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการขับเคลื่อน และ (3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านพลังงาน สำหรับ เยอรมนีในฐานะที่เป็นที่ตั้งของแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของสหภาพยุโรป คงต้องยอมรับข้อเท็จจริง ว่า ใครก็ตามที่ทำเหมือง และสามารถผลิตวัตถุดิบที่สำคัญ ๆ ได้ ก็จะมีอำนาจทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัจจุบันการแปรรูปแร่หายากเพื่อนำไปผลิตต่อเนื่องเป็นแม่เหล็กที่ประสิทธิภาพสูง นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับเครื่องยนต์ของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) โดยกว่า 90% แม่เหล็กฯ มาจากจีน ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป นาย Bender มั่นใจว่า จะมีอุปทานไม่เพียงพอในตลาดนี้ และกล่าวว่า “เปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการขับเคลื่อนและด้านพลังงานของยุโรปจะตกอยู่ในความเสี่ยง” ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้น – ด้วยเครื่องจักรสีส้มเทาข้างต้น ในโรงงานของเมือง Bitterfeld นั้น นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการรีไซเคิลแม่เหล็กนีโอไดเมียม (หรือแม่เหล็ก NdFeB เก่า) (Neodymium Magnet) ซึ่งถูกนำมาเก็บไว้ในถังสีฟ้าภายในโกดังที่อยู่ห่างออกไปเพียงไม่กี่เมตร โดยดิน และแร่หายากไม่ใช่วัตถุดิบชนิดเดียวที่มีความสำคัญต่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการขับเคลื่อนและโครงสร้างด้านพลังงานของยุโรป  โดยจากข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA – International Energy Agency) พบว่า ความต้องการดินและแร่หายากจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.5 เท่า ภายในปี 2030 โดยสมมติว่า ประเทศต่าง ๆ ยึดมั่นในคำมั่นสัญญาที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สร้างความเสียหายต่อสภาพภูมิอากาศให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2050 ซึ่งประเทศต่าง ๆ ได้เริ่มใช้มาตรการตามที่มีการประกาศไปแล้วทำให้เกิดอุปสงค์ของดินและแร่หายากเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า นั่นก็หมายความว่า ความอุปสงค์ด้านวัตถุดิบที่สูงจะบรรจบกับอุปทานมีความไม่แน่นอนนั่นเอง ซึ่งจริง ๆ แล้วสหภาพยุโรป (EU) ต้องการแก้ไขปัญหานี้ แต่การดำเนินการขั้นเด็ดขาดนั้นภาคเอกชนจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง เฉพาะเพียงแค่สมมติฐานง่าย ๆ นี้ก็ทำให้ เกิดปัญหาด้านการจัดหาวัตถุดิบแล้ว

 

การทำเหมืองแร่ในยุโรป – วิธีที่บริษัท Vulcan Energy จัดหาลิเธียมให้กับเยอรมนี

เครื่องจักรของ Vulcan Energy สามารถแยกแร่ลิเธียมออกจากน้ำแร่ชุดนี้ ซึ่งทำให้นึกถึงชุดเลโก้ที่เป็นชิ้น ๆ แยกจากกัน และซ้อนทับกัน และเชื่อมต่อกันระหว่าง แท็งค์ ท่อ และฟันเฟือง จำนวนมาก นาย Stefan Brand นักเคมีและผู้บริหารสูงสุดที่บริหารสายงานเทคโนโลโลยี (CTO) ของบริษัท Vulcan Energy บริษัทสัญชาติออสเตรเลีย – เยอรมัน ได้ออกมาอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการดึงแร่ลิเธียมออกจากน้ำแร่ที่มีเกลือเป็นส่วนผสม โดยสิ่งที่เกิดขึ้นในชุดเลโก้ยักษ์ในเมือง Landau ยังอยู่ในขั้นการทดลอง เป็นเครื่องจักรรุ่นที่เพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการปฏิบัติการ และนำมาเป็นข้อมูลสำหรับสร้างเครื่องจักรในการผลิตลิเธียมไฮดรอกไซด์โมโนไฮเดรตขึ้นเป็นวัตถุดิบขั้นสุดท้าย โดยคาดว่าโรงงานแห่งนี้จะสามารถให้บริการลูกค้าในอนาคตเพื่อทดลองใช้งานเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเครื่องจักรแล้ว โดยระบบจริงมีกำหนดเริ่มใช้งานในภายในปี 2027 นี้ โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นกับชุดเลโก้ที่เมือง Landau นี้มีชื่อเรียกว่า DLE ซึ่งย่อมาจาก Direct Lithium Extraction โดย DLE สามารถนำมาพัฒนาแหล่งสะสมลิเธียมที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ก่อนหน้านี้ และจากข้อมูลในปัจจุบันแทบทุกพื้นที่ที่ทำเหมืองลิเธียมจะสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ จากข้อมูลของ IEA ภายในปี 2024 ความต้องการลิเธียมจะเพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว และความต้องการของลิเธียมส่วนใหญ่จะมาจากภาคคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก หากใครต้องการที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ก็ต้องเร่งหาทางเป็นเจ้าของลิเธียมให้มากที่สุด ปัจจุบันจีนถือเป็นผู้ผลิตลิเธียมรายใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากออสเตรเลีย และชิลี) แต่อำนาจทางการตลาดของจีนที่ตั้งตัวอยู่ตรงกลางของห่วงโซ่อุปทานนั้นยิ่งใหญ่กว่า มากกว่า 60% ของการแปรรูปลิเธียมเกิดขึ้นในจีน หากจีน หรือผู้ผลิตรายใหญ่รายอื่นเกิดหายไปจากตลาดแบบฉับพลันไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น เหตุผลทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการขับเคลื่อนของยุโรปก็จะตกอยู่ในอันตรายในทันที

 

เหตุผลนี้เองที่ทำให้โครงการของ Vulcan ในเมือง Landau เป็นที่โปรดปรานจากนักการเมืองชาวเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโครงการดังกล่าวสามารถยิงนก 2 ตัว ด้วยปืนนัดเดียวได้ บริษัท Vulcan Energy ได้น้ำพุร้อนที่มีลิเธียมผ่านการขุดเจาะค้นหาพลังงานความร้อนใต้พิภพ ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะนี้ถูกใช้เพื่อทำความร้อน และผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานความร้อนใต้พิภพถือเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนแทนการผลิตพลังงานด้วยแหล่งเชื้อเพลิงจากฟอสซิล อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้อยู่อาศัยรอบ ๆ โครงการของ Vulcan เช่นกัน พวกเขากำลังรวบรวมลายเซ็นต่อต้านโครงการนี้ และมีการก่อตั้งโครงการต่อต้านโดยพลเมืองตามแนวตะเข็บแม่น้ำไรน์ตอนบน พวกเขาเชื่อว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพมีความเสี่ยงและน่ากลัว เหนือสิ่งอื่นใดคือ กลัวว่าจะเกิดแผ่นดินไหวจากการขุดเจาะขึ้นได้ ในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Handelsblatt พบว่า นักธรณีวิทยา และผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพต่างได้ให้ความชัดเจนว่า แน่นอนเป็นไปได้ที่อาจจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กขึ้นได้ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่รู้สึกถึงแผ่นดินไหวเหล่านี้ด้วยซ้ำ นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพยังมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่พวกเขาจะผ่านกระบวนการตรวจสอบที่ซับซ้อนนี้ไปง่าย ๆ หากไม่ทำให้ปลอดภัยจริง แต่ผู้อยู่อาศัยรอบ ๆ จำนวนมากสูญเสียความไว้วางใจลง และสถานการณ์แย่ลงด้วยรายงานของผู้ยืมหุ้นมาขายเพื่อลงทุน (Short Selling) ของปี 2021 ที่นำข้อมูลของบริษัทมาวิเคราะห์ โดย Vulcan ระบุไว้ว่า บริษัท Vulcan สามารถกรองลิเธียมออกจากน้ำร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 95% และจากอัตราการไหลของน้ำที่ถูกนำขึ้นสู่พื้นผิวต่อวินาที คิดเป็น 100 ถึง 120 ลิตรต่อวินาที ด้วยตัวเลขหลักทั้ง 2 นี้ทำให้บริษัท Vulcan สามารถประมาณการว่า ตั้งแต่ปี 2027 เป็นต้นไป บริษัทฯ จะสามารถกรองลิเธียมได้ประมาณ 24,000 ตันต่อปี โดยผู้ยืมหุ้นมาขายเพื่อลงทุน (Short Selling) เห็นว่า การประมาณการของบริษัท Vulcan เป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ บริษัท Vulcan Energy จึงต้องออกมาปกป้องตัวเองทางกฎหมาย รายงานดังกล่าวอยู่ในสถานะออฟไลน์เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์วัตถุประสงค์โดยสถาบันเทคโนโลยีประจำเมือง Karlsruh (KIT – Karlsruher Instituts für Technologie) โดย KIT เชื่อว่า การผลิตลิเธียมต่อปีที่น่าจะเป็นไปได้น่าจะอยู่ระหว่าง 2,600 – 4,700 ตัน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 5 ของ 24,000 ตันที่ Vulcan Energy วางแผนไว้สำหรับระยะแรก แต่แน่นอนที่บริษัท Vulcan Energy มีความเห็นที่แตกต่างออกไป นาย Brand CTO ของ Vulcan เน้นย้ำว่า “การคำนวณ KIT เช่นเดียวกับ การคำนวณของ Vulcan ที่ถูกต้องทั้ง 2 เพราะใช้พารามิเตอร์พื้นฐานที่แตกต่างกัน” ในระหว่างที่ KIT ใช้ระบบเครื่องที่มีอยู่ของบริษัท 5 เครื่องมาคำนวณ ในทางกลับกัน Vulcan นำการขุดเจาะที่วางแผนไว้อีก 11 หลุมในสถานที่ตั้ง 7 แห่งมาร่วมคำนวณด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรมยังกล่าวอีกว่า ในทางทฤษฎี ประสิทธิภาพในการผลิต 90% และความเร็วการไหลของน้ำขึ้นสู่พื้นผิว 120 ลิตรต่อ 1 วินาทีนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ แน่นอน Start Up ที่ต้องการเงินจากนักลงทุนนั้นจะต้องโฆษณาแนวคิดของตนด้วยข้อมูลหลักในแง่ดีที่สุด ปัจจุบัน Vulcan มีประสิทธิภาพมากกว่า 90% แล้ว แต่นี่ก็เป็นเพียงตัวเลขจากห้องปฏิบัติการเท่านั้น ส่วนโครงการจะขยายขนาดหรือไม่นั้นต้องรอติดตามกันต่อไป โดยรวมแล้วกำหนดเวลาในการสั่งซื้อ จัดหา ผลิต ฯลฯ สินค้าของอุตสาหกรรมวัตถุดิบนั้นยาวนาน นาย Michael Waitz ผู้อำนวยการทีมโครงการที่เกี่ยวข้องกับโลหะ และเหมืองแร่ของ KfW Ipex-Bank กล่าวว่า “อาจต้องใช้เวลา 5 – 10 ปีตั้งแต่การสำรวจ เช่น การค้นหาวัตถุดิบ ยาวไปจนถึงการสกัด” โดย KfW Ipex-Bank ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินสำหรับโครงการระหว่างประเทศ และการส่งออกอีกทั้งยังเป็นบริษัทลูกในเครือของสถาบันสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูประเทศ (KfW – Kreditanstalt für Wiederaufbau) มีหน้าที่สนับสนุนการจัดหาเงินทุนที่เชื่อว่า เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเยอรมนี และยุโรป รวมถึงการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ นาย Waitz กล่าวต่อว่า “จุดสนใจประการหนึ่งของการจัดหาเงินทุนของเราในปัจจุบันก็คือ เข้าไปเป็นผู้สนับสนุนกับโครงการจัดหาวัตถุดิบโดยมีผู้ทำเหมืองรุ่นเยาว์” Start Ups ด้านเหมืองแร่มีสิทธิ์ที่จะเติบโตเช่นกัน เช่น สิทธิ์ในการระดมทุนเหมือนกับรายใหญ่ ๆ ผู้ทำเหมืองรุ่นเยาว์มีความต้องการทางการเงินลงทุนสูง และต้องการความปลอดภัยในการวางแผนประกอบธุรกิจในระยะยาว ดังนั้น เพื่อส่งเสริมโครงการดังกล่าว รัฐบาลกลางเยอรมันจึงเสนอออกมาเป็นผู้รับประกันการไม่ชำระเงินกู้คืนให้แก่ผู้ให้กู้ ซึ่งเรียกว่า การค้ำประกันสินเชื่อทางการเงินที่ผูกมัด (UFK – Garantien für ungebundene Finanzkredite) ข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการรับประกันเหล่านี้ก็คือ Start ups ด้านเหมืองแร่จะต้องสรุปและมีสัญญาการจัดหาวัตถุดิบระยะยาวกับผู้ซื้อชาวเยอรมัน แต่นาย Waitz กล่าวว่า ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่จะได้วัตถุดิบจำนวนมากด้วยวิธีนี้ นี่แสดงให้เห็นว่า ยุโรปตามหลังจีนอย่างชัดเจนในการแข่งขันแย่งชิงแร่หายาก และไม่มีพื้นที่ไหนที่ชัดเจนไปกว่านี้อีกแล้วที่จะแสดงให้เห็นว่า ยุโรปตามหลังจีนขนาดไหน

 

การรีไซเคิลในยุโรป – วิธีที่บริษัท Remloy ต้องการกอบกู้อุตสาหกรรมรถยนต์เยอรมัน

เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศมาตรการที่ทำให้เกิดความตื่นตระหนกเกี่ยวกับแผนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านการขับเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านพลังงานของยุโรป โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป รัฐบาลในกรุงปักกิ่งต้องการควบคุมการทำเหมือง การแปรรูป และการค้าแร่หายาก อย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งมาตรการสิ่งนี้มีจะส่งผลกระทบกับบริษัทต่าง ๆ ในจีน และลูกค้าในยุโรปอย่างไรก็ยังมีความไม่ชัดเจน แม้แต่คนในวงการต่างก็ตั้งข้อสงสัยว่า มาตรการการควบคุมนี้จะถูกนำไปใช้อย่างไรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เช่น บริษัท Tradium พ่อค้าวัตถุดิบซึ่งเป็นบริษัทขนาดกลางที่ตั้งอยู่ในนครแฟรงก์เฟิร์ตจัดเก็บวัตถุดิบหายากที่สำคัญไว้ในบังเกอร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองในแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งวัตถุดิบหายากเหล่านี้รวมถึง เพรซีโอดิเมียม (Praseodymium) นีโอดิเมียม (Neodymium) เทอร์เบียม (Terbium) และ ดิสโพรเซียม (Dysprosium) โลหะทั้ง 4 ชนิดนี้ จัดว่าเป็นแร่ธาตุหายากมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก หากไม่มีพวกมันก็ไม่มีกังหันลมผลิตไฟฟ้า ไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า แม้แต่โทรศัพท์มือถือก็ไม่สามารถทำงานได้ โดยบริษัท Tradium ซื้อ และจัดเก็บโลหะเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา โดยหากห่วงโซ่อุปทาน ล่มสลาย ขาดตอน หรือพังลง บริษัท Tradium ในฐานะผู้ค้าปลีกก็ยังสามารถส่งมอบสินค้าต่อไปได้ นี่คือรูปแบบธุรกิจของบริษัท ปัจจุบันลูกค้าของบริษัท ได้แก่ บริษัทอุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก และจากมุมมองของนาย Jan Giese ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายแร่หายากของบริษัท Tradium เห็นว่า ปัจจุบันจีนกำลังดำเนินกลยุทธ์ระยะยาวโดยมีเป้าหมายก็คือ การควบคุมห่วงโซ่อุปทานแม่เหล็กทั้งหมดในโลก โดยจีนได้นำหน้าประเทศอื่น ๆ ไปมากแล้ว นาย Giese กล่าวว่า “ชาติตะวันตกต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี จึงจะสามารถไล่ตามจีนให้ทัน” ในด้านเหมืองแร่นั้นเป็นเรื่องที่ชาติตะวันตกต้องดำเนินการมากเป็นพิเศษ ขนะนี้ทั่วโลกมีโรงถลุงแร่ที่ไม่ใช่ของจีนเพียง 3 แห่งเท่านั้นที่สามารถแปรรูปแร่หายากในระดับอุตสาหกรรม แต่ตอนนี้มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะมีโรงถลุงแร่เพิ่มอีกโรงหนึ่งนอกประเทศจีน ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับยุโรปในช่วงกลางของห่วงโซ่อุปทานได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ใครอื่น บริษัทที่เรากล่าวถึงในขึ้นต้น โรงงานที่มีเครื่องจักรสีส้มเทาสูงประมาณเก้าเมตรที่กำลังทำงานส่งเสียงออกมาจากตัวมันเองในเมือง Bitterfeld นั้นเอง

 

นาย David Bender ผู้อำนวยการของบริษัท Remloy ถือภาชนะพลาสติกในมือ ซึ่งเต็มไปด้วยผงสีเทาเงินแวววาว วัตถุดิบสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว โดยผงชนิดนี้จะถูกนำไปผลิตเป็นแม่เหล็กต่อไป หลังจากนั้นก็สามารถนำแม่เหล็กดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากมาย อาทิ พวงมาลัยเพาเวอร์สำหรับยานยนต์หรือแม้กระทั่งในปั๊มน้ำ ธุรกิจการรีไซเคิลธาตุหายากเป็นธุรกิจที่ศักยภาพสูงที่จะเจริญเติบโตขึ้น ด้วยวิธีนี้มีความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองความต้องการธาตุหายากมากกว่า 30% ของปริมาณที่คาดการณ์ไว้ในปี 2050 อย่างไรก็ตาม จริง ๆ แล้วควรมีความสนใจธุรกิจรีไซเคิลแม่เหล็กหายากมากกว่านี้ ซึ่งนาย Bender เห็นว่า ในเวลานี้ควรที่จะมีการลงทุนกับธุรกิจดังกล่าวมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และการที่จีนสามารถผลิตแร่หายากของโลกแบบราคาถูกได้นั้น เป็นเพราะได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ ซึ่งแทบจะไม่คุ้มเลยสำหรับผู้เล่นชาวตะวันตกที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดดังกล่าว นอกจากนี้หากไม่มีบริษัทในชาวตะวันตกพร้อมที่จะจ่ายค่าวัตถุดิบจากตะวันตกเป็นพิเศษ ยุโรปก็จะไม่มีทางที่จะสามารถเป็นอิสระจากจีนได้ ในเวลานี้นักการเมืองจึงเริ่มตระหนักถึงปัญหานี้มากขึ้น EU ได้นำพระราชบัญญัติวัตถุดิบสำคัญมาบังคับใช้ โดยตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไปห้ามให้ความต้องการใช้วัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ประจำปีเกิน 70% มาจากประเทศที่สามเพียงประเทศเดียว อย่างไรก็ตาม EU ก็ยังไม่มีความคิดที่ชัดเจนว่าจะจัดการเรื่องเงินอย่างไร

 

ค้นหาวิธีแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี – วิธีที่บริษัท Enapter ต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนอิริเดียม (Iridium)

มีอีกวิธีหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก สำหรับการจัดหาวัตถุดิบในระยะยาวของ EU นั่นก็คือ การไม่ใช้วัตถุดิบที่สำคัญเลย โดยหนึ่งบริษัทสัญชาติเยอรมันที่ตั้งในเขตอุตสาหกรรมเมือง Pisa ได้แสดงวิธีแก้ปัญหานี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยบนโต๊ะในโรงงานของบริษัท Enapter มีวัตถุทรงกลมที่ดูราวกับว่าเป็นจานสีดำขนาดเล็กจำนวนมากวางซ้อนกันอยู่ ซึ่งสำหรับบริษัท Enapter และลูกค้า แล้วสิ่งนี้คือ ความหวังแห่งอนาคตในการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงาน (Energiewende หมายถึง “นโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในเยอรมนี ที่อธิบายถึงความพยายามที่จะเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานฟอสซิล-นิวเคลียร์ที่มีอยู่ ให้เป็นระบบพลังงานที่ยั่งยืนผ่านพลังงานหมุนเวียน”) โดยวัตถุทรงกลมที่เห็น คือ หัวใจของเครื่อง Anion Exchange Membrane (AEM) Electrolysis (กระบวนการอิเล็กโทรไลซิสเป็นระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้ากระแสตรงจากภายนอกเข้าไปในสารละลายอิเล็กโทรไลต์แล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี) นั่นเอง เดิมทีบริษัท Enapter มุ่งเน้นไปที่การผลิตเครื่องอิเล็กโตรไลเซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าไมโครเวฟเพียงเล็กน้อยและสามารถเชื่อมต่อเข้าด้วยกันได้ขึ้นอยู่กับความต้องการพลังงาน หรือพลังงานที่มี ซึ่งการทำงานคล้ายคลึงกันกับศูนย์ข้อมูล ซึ่งแผนการนี้ก็นับว่าเหมาะสมแล้วที่ผู้ก่อตั้ง นาย Sebastian-Justus Schmidt มาจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยหลังจากเขาร่ำรวยที่นั่น นาย Schmidt จึงได้ไปตั้งรกรากในไทยกับครอบครัว และสร้างบ้านที่เป็นมิตรต่อสภาพอากาศ รวมถึงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา จากนั้นเขาก็มองหาวิธีกักเก็บไฟฟ้า และใช้เมื่อไม่มีแสงแดด วิธีที่จะกักเก็บไฟฟ้าได้วิธีหนึ่งคือการกักเก็บผ่านกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส โดยน้ำจะถูกแยกออกเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจนโดยใช้กระแสไฟฟ้า นาย Schmidt ค้นพบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากบริษัทหนึ่งในอิตาลีที่กำลังเข้าสู่ภาวะล้มละลาย เขาจึงตัดสินใจควบกิจการบริษัทดังกล่าว และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Enapter หลังจากที่เขาเข้าไปเป็นเจ้าของ นาย Schmidt ก็ให้ช่างทาสีประตูบริษัทเป็นสีเขียว แม้ว่านาย Schmidt ผู้ก่อตั้งบริษัทจะเกษียณจากธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ และปัจจุบันนาย Jürgen Laakmann ก็เข้าเป็นผู้นำของบริษัทในฐานะ CEO คนใหม่ แต่ประตูดังกล่าวก็ยังคงเป็นสีเขียวอยู่ และเหตุผลหลักที่บริษัท Enapter เป็นที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมนี้แม้ว่า จะมีการสร้างเครื่องได้ในปริมาณน้อยก็ตาม เทคโนโลยีของบริษัท Enapter นี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้อิริเดียม (Iridium) และอิริเดียมในตลาดโลกในปัจจุบันก็เรียกได้ว่าขาดตลาดอยู่แล้ว ขนาดในเวลานี้ยังไม่มีการใช้งานเครื่องอิเล็กโตรไลเซอร์ในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวก็ตาม ซึ่งในอนาคตจะมีความต้องการใช้เครื่องดังกล่าวจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ความจริงที่ว่า บริษัท Enapter ออกมาเป็นผู้เสนอทางออกที่กล่าวมานั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในอุตสาหกรรมการผลิตไฮโดรเจน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม และนักวิทยาศาสตร์ต่างก็ยังเน้นย้ำว่า บริษัท Enapter ยังคงต้องพิสูจน์ว่า ทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยไฟฟ้า AEM ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาเฉพาะกิจ แต่สิ่งนี้สามารถนำมาใช้ได้กับแนวทางเกือบทั้งหมดหากยุโรปต้องการเป็นอิสระจากจีนในด้านดังกล่าว จะสำเร็จหรือไม่นั้นก็คงยังไม่สามารถตอบได้ แต่สิ่งนี้ก็ไม่ใช่ปัญหาแต่ปัญหาก็คือ มันจะไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้เลยหากไม่มีคนริเริ่มใด ๆ ขึ้นมาต่างหาก

 

จาก Handelsblatt 20 กันยายน 2567

อ่านข่าวฉบับเต็ม : EU หาทางเป็นอิสระในการพึ่งพิงวัตถุดิบของจีน

Login