857

สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนกุมภาพันธ์ 2563

เงินเฟ้อเดือนนี้ขึ้นลงมาจากปัจจัยหลักสำคัญ 2 กลุ่ม คือ ราคาสินค้าอาหารที่มีแนวโน้มขึ้น และราคาพลังงานที่มีแนวโน้มลงนะคะ ประเด็นที่อยากนำเสนอเพิ่มเติม คือ ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ไม่ได้ทำให้สินค้าอาหารหรือของใช้ในบ้านมีราคาแพงขึ้นอย่างผิดปกติ แต่ในกลุ่มข้าวถุงและน้ำอาจมีราคาเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป แต่ทั้งนี้ ก็ขอให้พี่น้องประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เรื่องไม่มีอาหารหรือน้ำกิน ไม่จำเป็นต้องกักตุนอาหารและน้ำนะคะ ช่วงนี้ที่ไทยไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากนัก และเราเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ผลิตอาหารได้มากมายเพียงพอแน่นอนค่ะ สำหรับสินค้าพวกเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ นั้น เป็นสินค้าที่มีวัตถุดิบผลิตได้ในประเทศ และขณะนี้มีผู้ยื่นคำร้องขอผลิตมากขึ้น คาดว่าในเวลาไม่นาน ก็จะมีของออกมาสู่ตลาดแน่นอน ไม่จำเป็นต้องกังวลเกินไปค่ะ ^^

736

ชาว สนค. ร่วมใจเพื่อคนไทยปลอด COVID-19

✅หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง

✅ หลีกเลี่ยงการสัมผัสเยื่อบุบริเวณใบหน้า

✅ล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล 70% ขึ้นไป

✅ กินร้อน ช้อนกลาง ??

✅ใส่หน้ากากอนามัย

✅ หลังการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง กักตัวและสังเกตอาการภายใน 14 วันต่อเนื่อง

✅ หากมีอาการป่วย อาทิ ไข้สูง ไอ เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย หายใจเหนื่อยหอบ และท้องเสีย ให้รีบพบแพทย์

ขอให้สมาชิกทุกท่านดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และติดตามสถานการณ์เป็นระยะๆ เพื่อการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมค่ะ ??

1183

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยประจำเดือนมกราคม 2563

การส่งออกไทยเดือนมกราคม 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.35 กลับมาเป็นบวกในรอบ 6 เดือน จากการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นเริ่มกลับมาเปิดทำการ และการส่งออกทองคำที่สูงขึ้นตามราคาตลาดโลก ทั้งนี้ ทิศทางการส่งออกของไทยสะท้อนแนวโน้มเชิงบวกจากการลงนามข้อตกลงทางการค้าระยะแรก (Phase-1 Deal) ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ช่วยให้บรรยากาศการค้าดีขึ้นและคลายความกังวล สินค้าที่ได้รับผลกระทบภายใต้มาตรการสงครามการค้า อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ กลับมาขยายตัวทั้งในตลาดสหรัฐฯ และจีน อีกทั้ง สินค้าดาวรุ่งของไทยในภาคการผลิตจริง (Real Sector) หลายรายการ อาทิ ไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร นมและผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่ม ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง เมื่อหักทองคำและน้ำมันการส่งออกไทยเดือนมกราคม 2563 หดตัวร้อยละ 0.6

1461

พาณิชย์จัดประชุมวอร์รูมหารือเอกชนเตรียมการรองรับไวรัสโควิด-19

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานวอร์รูม (War Room) เพื่อประเมินสถานการณ์และหารือมาตรการรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ที่กระทรวงพาณิชย์

901

พาณิชย์ชี้อีคอมเมิร์ซและดิจิทัลคอนเทนต์มาแรง ไวรัส COVID-19 หนุนคนใช้ออนไลน์

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าอีคอมเมิร์ซ และบริการดิจิทัลคอนเทนต์กำลังมาแรง ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และประเมินว่าการส่งออก-นำเข้า การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะค่อยๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายหลังท่าเรือ-ด่านศุลกากรจีนกลับมาเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น การค้าออนไลน์ (e-Commerce) เป็นอีกช่องทางการค้าสำคัญที่จะช่วยเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ที่จีนมีความต้องการสูงในระยะนี้ รวมถึงสินค้าที่ตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งขนาดเล็ก สินค้ากลุ่มอโรมา และผลิตภัณฑ์สปา คุณภาพและภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทย จะเป็นแต้มต่อให้และช่วยรักษาโอกาสทางการค้าในช่วงความท้าทายนี้ได้

816

สนค. เปิดแผนวิสัยทัศน์ Moc Big Data Roadmap ขับเคลื่อนการค้ายุคใหม่ของกระทรวงพาณิชย์ ชี้ข้อมูลที่มีมูลค่าต้องมาจากการกำหนดโจทย์ที่ตรงคุณค่า

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง ข้อมูลเปิดกับกลยุทธ์ทางการค้าของไทย ในงานสัมนา Open data work understanding open data usage from a practice lens จัดโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)

1042

สรุปสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการ เดือนมกราคม 2563

ภาพรวม : ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมกราคมเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.05 (YoY) เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันในอัตราสูงที่สุดในรอบ 8 เดือน และกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของประเทศอีกครั้ง โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของหมวดอาหารสดและการกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 9 เดือนของหมวดพลังงาน ในขณะที่หมวดอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47
ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.49 ในเดือนก่อน

819

อินเดียจะถอนตัวจาก RCEP จริงหรือ?

อินเดียทา Surprise ด้วยการประกาศไม่ร่วมในความตกลง RCEP ในช่วงการประชุม ASEAN Summit ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2562 การที่อินเดียจะทิ้ง RCEP อาจเป็นการเสียโอกาสครั้งใหญ่ของอินเดียก็เป็นได้

กระทรวงพาณิชย์แจงผลการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจไทย มั่นใจมาตรการรัฐบาลป้องกันแล้วหลายด้าน เศรษฐกิจไทยรับมือได้
899

กระทรวงพาณิชย์แจงผลการสำรวจความเสี่ยงด้านการประกอบธุรกิจไทย มั่นใจมาตรการรัฐบาลป้องกันแล้วหลายด้าน เศรษฐกิจไทยรับมือได้

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร (ผอ.สนค.) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกรณีที่สภาธุรกิจโลก หรือ World Economic Forum มีการศึกษาเรื่องความเสี่ยงในระดับโลกและระดับภูมิภาคในการทำธุรกิจ (Regional Risk of Doing Business 2019)

1 23 24 25 27

Login